นกกะลิง

นกกะลิง

นกกะลิง หรือที่ทางพายัพเรียก นกกะแล

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Psittacula himalayana finchii (Hume)
จัดอยู่ในวงศ์ Psittacidae
มีชื่อสามัญว่า gray – headed parakeet หรือ slaty – headed parakeet

 

ชีววิทยาของนกกะลิง

นกนี้เป็นนกปากงุ้มเป้นขอชนิดหนึ่ง ความยาวของตัววัดจากปลายปากถึงปลายหายราว ๔๖ เซนติเมตร ความยาวนี้เป็นความยาวของหางราวครึ่งหนึ่ง ปากบนสีแดงปลายเหลือง ปากล่างสีเหลือง ตาสีดำ หัวสีเทาแก่  ที่คอมีแถบดำใหญ่พาดจากบริเวณใต้คางไปถึงด้านหลัง แถบนี้จะค่อยๆเรียวเล็กลงจนเหลือเป็นเพียงเส้นเล็กๆที่ท้ายทอย ต้นคอใต้เส้นดำเป็นสีฟ้า ใต้ปีกสีน้ำเงินอมเขียว หางยาว ตอนบนสีฟ้าอมเขียว ปลายเหลือง เมื่อมองผาดๆจะเห็นเป็นนกที่มีสีเขียว ตัวผู้มีแต้มสีแดงเข้มที่ที่หัวปีกด้านข้าง และแถบดำที่คางมีขนาดใหญ่กว่าของตัวเมีย นกกะลิงอยู่รวมกันเป็นฝูง พบมากทางภาคเหนือที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ๖๐๐ – ๑,๒๐๐ เมตร นกชนิดนี้กินผลไม้ เมล็ดพืชและยอดอ่อนของพืช  ทำรังตามโพรงไม้ วางไข่คราวละ ๒ – ๕ ฟอง ในระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน ไข่ค่อนข้างกลม สีขาว ใช้เวลาฟัก ๒๒ – ๒๕ วัน

 

ประโยชน์ทางยา

แพทย์แผนไทยตามชนบทใช้เลือดนกกะลิงผสมกับยาอื่น เป็นยาบำรุงโลหิต แก้โรคโลหิตจางและโลหิตพิการ
ใน พระคัมภีร์ชวดารให้ยาขนานหนึ่ง คือยาแก้ลมกล่อน ยาขนานนี้เข้า “หางนกกะลิง” เป็นเครื่องยาด้วยดังนี้ ยาแก้ลมกล่อน อัณฑะเจ็บเมื่อยตายไปข้างหนึ่ง ทั้งกายก็ดี เอายาข้าวเย็นเหนือโพกพายพรมคตตีนเต่าหางนกกะลิงกำลังวัวเถลิง ๑ หนวดนาคราช ๑ เอาเท่ากัน ต้มทากล่อนลม หายแล

 

 

รูปภาพจาก:sites.google.com,sites.google.com