วงศ์เต่าน้ำจืด

วงศ์เต่าน้ำจืด

เต่ากระอาน

[Batagur Baske(Gray)] ๕๖ เซนติเมตร
เต่าขนาดใหญ่ กระดองเรียบ โค้งมน นิ้วเท้ามีพังผืดยึดเต็ม มี ๔ เล็บ จมูกค่อนข้างแหลม ตัวผู้มีตาสีขาว พบตามปากแม่น้ำ ปัจจุบันอาจสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติแล้ว

 

เต่าลายตีนเป็ด

[Callargur borneoensis (Schlegel & Muller)], ๖๐ เซนติเมตร
เต่าขนาดใหญ่ ตัวผู้มีหัวสีแดงเด่นในฤดูผสมพันธุ์ นิ้วเท้าหน้าหลังมีพังผืดยึดติดสำหรับช่วยในการว่ายน้ำ พบตามปากแม่น้ำทางภาคใต้ อาจสูญพันธุ์ไปแล้ว

 

เต่าแดง

[Cyclemys dentata(Gray)], ๒๖ เซนติเมตร
ขอบกระดองด้านท้ายเป้นจักๆ  กระดองหลังสีน้ำตาลอ่อนถึงเข้มเป็นสีดำหรือสีเขียวขี้ม้า แตกต่างกันไปตามแต่เต่าแต่ละตัว เมื่อเล็กมีเกล็ดเป็นลายเส้นรัศมี แต่จะหายไปเมื่อโตขึ้น พบได้ในป่าทั่วประเทศ

 

เต่าหวาย

[Heosemys grandis (Gray)], ๔๘ เซนติเมตร
กระดองสีน้ำตาลเข้ม ตามปรกติมีเส้นสีครีมพาดยาวเป็นแนวกลางหลัง ขอบกระดองหลังด้านท้ายเป้นจักๆ กระดองท้องด้านท้ายมีหยักลึก พบตามแหล่งน้ำจืดทั้งบนภูเขาและตามที่ราบ

 

เต่าหับ

[Cuora amboinensis (daudin)], ๒๑ เซนติเมตร
กระดองโค้งสูงกว่าเต่าน้ำจืดชนิดอื่น หัวค่อนข้างแหลม มีลายแถบสีเหลืองเป็นขอบ เต่าชนิดนี้สามารถหับหรือปิดกระดองได้มิดชิด พบได้ตามหนองบึงทั่วประเทศ

 

เต่าบัว

[Hieremys annandalii(Boulenger)], ๕๐ เซนติเมตร
เต่าขนาดใหญ่ สีและรูปร่างกระดองเปลี่ยนไปตามอายุ เมื่อโตเต็มที่กระดองมีสีดำ หัวสีเหลือง พบได้ทั่วประเทศในแหล่งน้ำจืดที่ค่อนข้างนิ่ง

 

เต่าจักร

[Heosemys spinosa(Gray)], ๒๓ เซนติเมตร
เต่าขนาดเล็ก กระดองค่อนข้างแบนและมีขอบแหลม แต่จะลดลงเมื่อโตขึ้น กระดองสีน้ำตาลแดง มีสันกลางหลังเห็นชัด นิ้วเท้าไม่มีพังผืด พบในป่าทางภาคใต้

 

เต่าจัน

[Pyxidea mouhotii(Gray)], ๑๗ เซนติเมตร
เต่าขนาดเล็ก กระดองโค้งสูงสีน้ำตาลแดง มีสัน ๓ สัน หายาก เคยมีรายงานว่าพบในป่าทางภาคเหนือบริเวณชายแดนไทย – ลาว 

 

เต่าทับทิม

[Notochelys platynota(Gray)], ๓๖ เซนติเมตร
เต่าขนาดเล็ก กระดองหลังมีแผ่นเกล็ด ๖ – ๗ แผ่น แตกต่างจากเต่าชนิดอื่นที่พบในประเทศไทย เมื่อยังเล็กอยู่กระดองมีสีเขียวสด เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง

 

เต่าดำ

[Siebenrockiella crassicollis(Gray)], ๒๗ เซนติเมตร
กระดองสีดำ บางตัวมีแถบสีขาวที่แก้ม บางถิ่นจึงเรียก เต่าแก้มขาว  ชอบซุกตัวอยู่ตามโคลนตมใต้น้ำ ทำให้มีกลิ่นตัวเหม็นเหมือนใบไม้เน่า จึงได้ชื่อว่า เต่าเหม็น ด้วย พบได้ตามหนองบึงทั่วประเทศ

 

เต่าแก้มแดง

[Trachemys scriptaelegans(Wied)], ๒๘ เซนติเมตร
เต่าขนาดเล็ก กระดองสีเขียวแต่จะคล้ำขึ้นเมื่อโตขึ้น จุดเด่นอยู่ที่จุดสีแดงส้มข้างแก้ม เต่าชนิดนี้นำเข้ามาเลี้ยงจนแพร่กระจายทั่วไปตามแหล่งน้ำจืดของไทย

 

รูปภาพจาก:th.wikipedia.org,bloggang.com