สมุนไพรเลี่ยน

สมุนไพรเลี่ยน

ชื่อพื้นเมืองอื่น เกรียน เฮี่ยน (ภาคเหนือ) เคี่ยน เลี่ยน เลี่ยนใบใหญ่ (ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์  Melia azedarach L.
ชื่อพ้อง Melia dubia Cav.. Melia toosendan Siebola & Zucc..
ชื่อวงศ์  MELIACEAE
ชื่อสามัญ Bead tree, Bastard cedar , Perisian lilac , White cedar.

 

ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์

ไม้ต้น (T/ST) -> ขนาดกลาง สูง 10-20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปกรวยหรือทรงกระบอก ค่อนข้างโปร่ง เปลือกต้นสีน้ำตาลแตกเป็นร่อง โตเร็ว เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย แสงแดดจัด
ใบ -> ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ปลายคี่ เรียงสลับที่ปลายกิ่ง แกนกลางใบประกอบยาว 30-60 ซม. ใบย่อยจำนวนมาก รูปรีแกมรูปขอบขนาน เรียงตรงข้าม กว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 3-6 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบแหลมหรือสอบและมักเบี้ยว ขอบใบจักฟันเลื่อยห่างๆ
ดอก -> ออกดอกเป็นช่อที่ซอกบริเวณปลายกิ่ง กลีบดอก 5-6 กลีบ สีชมพูหรือขาวอมม่วงอ่อนๆ เส้นผ่าศูนย์กลางดอกประมาณ 2 ซม. เกสรเพศผู้ 10 อัน สีม่วง อยู่ติดกันเป็นหลอด ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอก เดือนธันวาคม-มีนาคม
ผล -> รูปกลมหรือรี กว้างประมาณ 1 ซม. ยาว 2.5 ซม. เมื่อแก่เป็นสีเหลือง เมล็ดต่อเมล็ด

 

นิเวศวิทยา

มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อน จีน ทางตอนเหนือของอินเดียและออสเตรเลีย พบตามชายป่าดิบและป่าเบญจพรรณทั่วภาคทุกภาคไทย

 

การปลูกและขยายพันธุ์

เป็นไม้ที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ดีในดินทั่วๆไป ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดหรือปักชำราก

 

ส่วนที่ใช้ รส และสรรพคคุณ

ทั้งต้น -> รสขม แก้โรคผิวหนัง แก้โรคเรื้อน เป็นยาอายุวัฒนะ
เมล็ด -> ให้น้ำมัน ใช้ทาแก้ปวดข้อ
ใบ -> ให้สีเขียวใช้ย้อมผ้า

 

วิธีใช้และปริมาณที่ใช้

1. แก้โรคผิวหนัง แก้โรคเรื้อน โดยใช้ต้นสด 10-20 กรัม หรือยาวประมาณ 1 ฝ่ามือ สับเป็นชิ้น ต้มในน้ำสะอาด 1 ลิตร เคี่ยวให้เหลือ 3 ใน 4 ส่วน กรองเอาน้ำดื่ม วันละ 2-3 เวลา

 

 รูปภาพจาก:thaikasetsart.com,nanagarden.com,สมุนไพร