สมุนไพรบุนนาค

สมุนไพรบุนนาค

บุนนาค Mesua ferrea L.
บางถิ่นเรียน
บุนนาค (ทั่วไป) ก๊าก่อ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน ก้ำก่อ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ปะนาคอ (มลายู-ปัตตานี) สารภีดอย (เชียงใหม่)

ไม้ต้น -> สูง 15-25 ม. ทรงพุ่มเป็นรูปเจดีย์ต่ำ ๆ มีพูพอนเล็กน้อยตามโคนต้น เปลือกสีน้ำตาลปนเทาและปนแดง มีรอยแตกตื้น ๆ ภายในเปลือกมียางสีขาว ใบอ่อน สีชมพูอมเหลืองอ้อยเป็นพู่
ใบ -> เดี่ยว ออกตรงข้าม รูปขอบขนานแคบ หรือ รูปหอก กว้าง 1.5-3.5 ซม. ยาว 5-15 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างมีคราบสีขาวนวล ก้านใบเล็ก ยาว 4-7 มม.
ดอก -> ออกตามง่ามใบ ออกเดี่ยว ๆ หรือ เป็นกระจุก ๆ ละ 2-3 ดอก สีขาว หรือ เหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม บานเต็มที่กว้าง 7-10 ซม. กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ รูปช้อน งอเป็นกระพุ้ง กลีบดอก 4 กลีบ รูปไข่กลับ ปลายกลีบบานและหยักเว้าเข้า โคนกลีบสอบ เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก สีเหลือง อับเรณูสีส้ม รังไข่มี 2 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียยาว
ผล -> รูปไข่ ปลายโค้งแหลม กว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 3.5 ซม. มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบติดอยู่และขยายโตขึ้นเป็นกาบหุ้มผล ผลสีน้ำตาลเข้ม แข็งมาก เมล็ดแบน มี 1-2 เมล็ด


นิเวศน์วิทยา

ขึ้นในป่าดิบชื้นทางภาคเหนือ และภาคใต้ สูงจากระดับน้ำทะเล 20-700 ม.


สรรพคุณ

ต้น เปลือก -> ให้ยางมาก เป็นยาฝาดสมาน มีกลิ่นหอมเล็กน้อย ต้มรวมกับขิงกินเป็นขาขับเหงื่อ ใบ ตำเป็นยาพอกโดยรวมกับน้ำนมและน้ำมันมะพร้าวใช้สุมหัวแก้ไข้หวัดอย่างแรง
ดอก -> แห้งมีกลิ่นหอมมาก ใช้เข้าเครื่องยาเป็นยาฝาดสมาน บำรุงธาตุ แก้ไอ ขับเสมหะ หรือ บดให้เป็นผงผสมกับเนยเหลว เป็นยาพอกแก้ริดสีดวงทวาร
ผล -> กินเป็นยากระตุ้นการทำงานของร่างกาย แก้น้ำเหลืองเสีย และแก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ
เมล็ด -> ให้น้ำมันเป็นยาทาถูกนวดแก้ rheumatism ทาแก้บาดแผลเล็ก ๆ น้อย ๆ แก้ผื่นคันและแก้หิด กรดที่พบในน้ำมันจะมีพิษต่อหัวใจ

 

รูปภาพจาก:nanagarden.com,qsbg.org,สมุนไพร