สมุนไพรเมื่อย

สมุนไพรเมื่อย

เมื่อย Gnetum montanum Markgraf
บางถิ่นเรียกว่า เมื่อย (ตราด) ม่วย (เชียงราย อุบลราชธานี) มะม่วย (เชียงใหม่) แฮนม่วย (เลย)

ไม้เถา -> เนื้อแข็ง กิ่งเป็นข้อต่อกันและตามข้อจะบวมพอง
ใบ -> เดี่ยว เรียงเป็นคู่สลับตั้งฉาก ใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่ มีขนาดแตกต่างกันมาก แต่กว้างไม่เกิน 12 ซม. ยาวไม่เกิน 20 ซม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบกลม มน หรือ แหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบแข็งหนา หรือ ค่อนข้างหนา เมื่อแห้งสีออกดำ เส้นใบโค้ง ก้านใบยาว 1-1.5 ซม.
ดอก -> ออกเป็นช่อที่ปลายยอดและตามลำต้น ช่อดอกแตกกิ่งก้านสาขามา แยกเป็นช่อดอกเพศผู้และเพศเมีย ดอกเรียงเป็นชั้น ๆ รอบแกนกลาง ช่อดอกเพศผู้ กว้างประมาณ 0.4 ซม. ยาวประมาณ 3 ซม. แต่ละชั้นมีประมาณ 20 ดอก ช่อดอกเพศเมีย แต่ละชั้นมี 5-7 ดอก
ผล -> รูปรี กว้างประมาณ 1 ซม. ยาว 1.5 ซม. เมื่อสุกสีแดง ก้านผลอ้วน ยาวประมาณ 0.2 ซม.


นิเวศน์วิทยา

ขึ้นในระดับสูงจากน้ำทะเล 50-1,800 ม. พบในทุกภาคของประเทศ ยกเว้นภาคกลาง


สรรพคุณ

ราก -> น้ำต้มรากกินแก้พิษบางชนิด และแก้ไข้มาลาเรีย

 

รูปภาพจาก:flickr.com,rspg.or.th,สมุนไพร