สมุนไพรก้างปลาเครือ

สมุนไพรก้างปลาเครือ

ก้างปลาเครือ Phyllanthus reticulatus Poir.
บางถิ่นเรียก ก้างปลาเครือ (ทั่วไป) กระบอง (ประจวบคีรีขันธ์) ก้างปลาขาว (อ่างทอง เชียงใหม่) ก้างปลาแดง (สุราษฎร์ธานี) ข่าคล่อง (สุพรรณบุรี) ค่าคะโค่คึย สะแบรที (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หมัดคำ (แพร่) อำอ้าย (นครราชสีมา).

ไม้พุ่ม กึ่ง ไม้เถา -> เกลี้ยง หรือ มีขนเล็กน้อย กิ่งมีขนาดเล็ก.
ใบ -> เดี่ยว เรียงสลับกัน รูปไข่ หรือ รีแกมขอบขนาน กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 2-3 ซม. ปลายใบมน หรือ หยักเว้าเล็กน้อย. ขอบใบเกลี้ยง โคนใบสอบ หรือ มน. ก้านใบยาว 2-3 มม.
ดอก -> ออก 2-3 ดอก ตามง่ามใบเป็นช่อสั้น ๆ ดอกแยกเพศ. ดอกเพศผู้ มีกลีบรองกลีบดอก 4-6 กลีบ; ไม่มีกลีบดอก. เกสรผู้ 3-6 อัน ก้านเกสรแยกกัน หรือ ติดกันก็ได้. ดอกเพศเมีย กลีบรองกลีบดอกเหมือนกับของดอกเพศผู้ รังไข่มี 3-4 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 2 หน่วย ท่อรังไข่แยกกัน หรือ ติดกันก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะแยกเป็น 2 แฉก.
ผล -> นุ่ม ภายในมี 8-16 เมล็ด. เมล็ด มีหน้าตัดเป็น 3 เหลี่ยมด้านไม่เท่ากัน.


นิเวศน์วิทยา

ขึ้นทั่วไปในป่าดงดิบ ป่าผลัดใบ และที่รกร้างทั่วไป.


สรรพคุณ

ราก -> น้ำต้มรากกินเป็นยาแก้หืดหอบ
ต้น -> น้ำต้ม หรือ ยาชงเปลือก กินแก้น้ำเหลืองเสีย ขับปัสสาวะ ฟอกเลือด แก้บิด และท้องเสีย
ใบ -> น้ำต้มใบ กินเป็นยาขับปัสสาวะ. บดเป็นผงใช้ใส่แผล ปั้นเป็นลูกกลอนประสมกับ การบูร (camphor) และ cubeb สารที่สกัดได้จากตะไคร้ต้น (Litsea cubeba Pers.) ใช้อมให้ละลายช้า ๆ แก้เลือดออกตามไรฟัน
ผล -> กินเป็นยาฝาดสมานในระบบทางเดินอาหาร และแก้อาการอักเสบต่างๆ

 

รูปภาพจาก:biogang.net,treeofthai.com,สมุนไพร