สมุนไพรตาตุ่มป่า

สมุนไพรตาตุ่มป่า

ตาตุ่มป่า Excoecaria oppositifolia Griff.
บางถิ่นเรียกว่า ตาตุ่มป่า (ประจวบฯ) ตังตาบอด (เหนือ) ไฟเดือนห้า (ใต้) ยางร้อน (ลำปาง).

ไม้ต้น -> สูง 4-10 ม. ทุกส่วนมีน้ำยาง.
ใบ -> เดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน รูปหอกแกมขอบขนาน กว้าง 4-11.5 ซม. ยาว 11.5-24 ซม. โคนใบแหลม หรือ มน. ปลายใบแหลมเป็นติ่ง ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อยตื้น ๆ และห่าง มีเส้นใบ 12-15 คู่ เส้นทำมุมกว้างกับเส้นกลางใบ ใบเกลี้ยงทั้งด้านบน และด้านล่าง ก้านใบยาว 1.2-2.0 ซม.
ดอก -> แยกเพศแต่อาจจะมีอยู่บนต้นเดียวกัน หรือ ต่างต้นกันก็ได้. ดอกเพศผู้ ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ยาว 7-12 ซม. แกนกลางช่อเรียวเล็ก ดอกเล็ก ติดห่าง ๆ ไม่มีก้านดอก ใบประดับรูปไข่กว้างแกมสามเหลี่ยม กว้าง 1.5 มม. ยาว 1 มม. กลีบรองกลีบดอก 3 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน ไม่เชื่อมติดกัน ยาว 1-1.5 มม. ไม่มีกลีบดอก เกสรผู้ 3 อัน ไม่ติดกัน. ดอกเพศเมีย มักจะดอกเดี่ยว ๆ ที่ยอด ยาว 1.0-1.5 ซม. ใบประดับรูปรี ยาว 1-2 มม. กลีบรองกลีบดอก 3 กลีบ รูปไข่ป้อมเกือบกลม ปลายมน กว้าง และยาวประมาณ 2 มม. รังไข่รูปไข่ ยาวประมาณ 6 มม. ท่อรังไข่ 3 อัน กางออก ภายในมี 3 ช่อง มีไข่อ่อนช่องละ 1 หน่วย.
ผล -> เป็นชนิดผลแห้ง แก่จัดจะแตก กลม มีสันนูนเล็กน้อย 6 สัน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 ซม. เมล็ด กลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 12-15 มม.


นิเวศน์วิทยา

ขึ้นตามป่าดงดิบทั่วไป.


สรรพคุณ

ต้น -> ยางต้นเป็นพิษ ทำให้ผิวหนังอักเสบบวมแดง

สมุนไพรตาตุ่มป่า

รูปภาพจาก:dnp.go.th,pixabay.coml,สมุนไพร