สมุนไพรราชาวดีป่า

สมุนไพรราชาวดีป่า

ราชาวดีป่า วงศ์ Buddleja asiatica Lour.
บางถิ่เรียกว่า ราชาวดีป่า เกียงพาไหล ไคร้หางหมา ดอกฟู มะหาดน้ำ หญ้าน้ำแป้ง หัวเถื่อน (เชียงใหม่) ไคร้บอก (เหนือ) งวงช้าง (ชัยภูมิ) ดอกด้ายน้ำ (เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน) ดอกด้ายหางหมา (เชียงใหม่ ลำปาง) ดอกถ่อน ฟ่อน (เลย) ดอกแม่ม่าย แม่ม่าย (กาญจนบุรี) ปอกน้ำ (เชียงราย) ปุนปุ๊ก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) พู่จีบอย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) โพหนองบี๊ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี).

ไม้พุ่ม ต้นสูงประมาณ 1-2 เมตร. ใบ ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปหอก มีขนาดกว้างประมาณ 3 ซม. ยาว 13 ซม. ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ หรือ หยักเล็กน้อย โคนใบสอบแคบ ด้านล่างมีขน ก้านใบยาว 0-7 มม. ดอก ออกเป็นช่อที่ยอดและตามง่ามใบ ยาว 5-20 ซม. ดอกหนาแน่น มีขน กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายแยกเป็น 4 กลีบ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปโกษ ปลายแยกเป็นกลีบสั้น ๆ 4 กลีบ สีขาว ด้านนอกมีขน หรือ เกลี้ยง เกสรผู้ 4 อัน ติดอยู่ภายในท่อดอก ก้านเกสรสั้น อับเรณูรูปไข่ หรือ รูปขอบขนาน เกสรเมีย 1 อัน ภายในมี 2 ช่อง. ผล รูปรี ยาวประมาณ 6 มม. แห้งไม่มีเนื้อ เมล็ดรูปรี เปลือกเมล็ดหลวม หัวท้ายยื่นยาวออกไปเล็กน้อย

นิเวศน์วิทยา : เป็นไม้ที่ขึ้นในเขตร้อนของเอเชีย ขึ้นได้ทั่วไปในประเทศไทย.

สรรพคุณ : ในประเทศฟิลิปปินส์ใช้แก้โรคผิวหนัง เป็นยาทำให้แท้ง

 

รูปภาพจาก:samunpri.com,oknation.nationtv.tv