น้ำมันละหุ่ง

น้ำมันละหุ่ง

น้ำมันละหุ่งได้จากการบีบที่แก่จัด เมล็ดละหุ่งได้จากต้นละหุ่ง 
 อันมีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Ricinus communis L.

ในวงศ์ Euphorbiaceae
บางถิ่นเรียก มะโห่ง มะโห่งหิน (พายัพ) ระหุ่ง มะละหุ่ง (ทั่วไป) ละหุ่งแดง (ทั่วไป-ถ้าใบและกิ่งก้านมีสีแดงคล้ำ) เมล็ดละหุ่งมีชื่อสามัญว่า castorssedหรือ castor seed หรือ castorbean หรือ castor bean

ต้นละหุ่งมีถิ่นกำเนิด
ในอินเดียและเขตร้อนของแอฟริกาตะวันออก ปลูกในอินเดียและไอยคุปต์(อียิปต์โบราณ) มาแต่บรรพกาล เป็นพืชอาศิสที่สำคัญของโลกในปัจจุบัน มีปลูกในทุกทวีปของโลก ส่วนมากเพื่อบีบเอาน้ำมันจากเมล็ด ละหุ่งเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก อาจสูงได้ถึง ๖ เมตร ยอดอ่อนและช่อดอกเป็นนวลขาว ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนกัน กว้างยาว ๑๕-๖๐ เซนติเมตร ขอบใบหยัก เป็นแฉกแบบนิ้วมือ ๕-๑๒ แฉก ปลายแฉกแหลม ขอบหยักแบบฟันเลื่อย ที่ปลายแหลมของแต่ละหยักมีต่อมเนื้อใบค่อนข้างบาง ไม่มีขน สีเขียว หรือสีเขียวแกมแดง หรือสีแดงเข้ม ก้านใบยาว ๑๐-๓๐ เซนติเมตร มีต่อมที่ปลายก้าน ดอกออกรวมเป็นช่อ แบบช่อกระจุกที่ยอดหรือตามปลายกิ่ง ช่อดอกตั้งตรง แกนช่อดอกยาวราว ๓๐-๖๐ เซนติเมตร ดอกย่อยสีเขียวอมเหลืองหรือสีม่วงแดง แยกเพศ แต่อยู่ในช่อเดียวกัน ดอกเพศผู้อยู่ตอนบน มีกลีบเลี้ยงบาง ปลายมี ๕ กลีบ ร่วงง่าย เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ก้านเกสรเพศผู้ติดเป็นกระจุก หรือแยกเป็นกลุ่มๆ ดอกเพศเมียอยู่ส่วนล่างของช่อดอก ก้านดอกยาวกว่าดอกเพศผู้ กลีบเลี้ยงเชื่อมกัน คล้ายกาย ปลายมี ๕ แฉก ร่วงง่าย รังไข่มี ๓ อัน แต่ละอันมี ๓ ช่อง ผลรูปไข่มี ๓ พู ยาว ๑.๕-๒.๕ เซนติเมตร เมื่อยังอ่อนอยู่มีสีเขียวหรือสีเขียวแกมม่วง มีหนามอ่อนๆคลุม เมื่อแก่จะแห้ง แตกได้ ภายในมีเมล็ด ๑-๓ เมล็ด เมล็ดละหุ่งแก่จัดที่กะเทาะเปลือกออกแล้ว จะมีน้ำมันอยู่ราวร้อยละ๔๕-๕๕ ในทางอุตสาหกรรมมีวิธีบีบน้ำมันละหุ่งหลายวิธี แต่ละวิธีให้ปริมาณน้ำมันต่างๆกัน น้ำมันละหุ่งที่ใช้ในทางเภสัชกรรมเป็นน้ำมันที่บีบโดยไม่ใช้ความร้อน หากใช้ความร้อนจะมีสารพวกโปรตีนที่เป็นพิษ ชื่อไรซินติดมาด้วย น้ำมันละหุ่งที่ใช้ในทางยานี้ เป็นของเหลวข้นเหนียว ใส ไม่มีสี หรือมีสีเหลืองอ่อนมีกลิ่นเล็กน้อย รสเฝื่อนเล็กน้อยในตอนแรก ต่อมาจะเผ็ดเล็กน้อยชวนคลื่นไส้ มีค่าความถ่วงจำเพาะ ๐.๙๕๘ -๐.๙๖๙ ที่ ๒๕°ซ องศาจุดแข็งตัว- ๑๐ ถึง -๑๘°ซ ค่าความหนืดอยู่ระหว่าง ๙๓๕ – ๑,๐๓๓ ซีพีที่ ๒๐°ซ มีองค์ประกอบทางเคมีเป็นสาร ไตรกลีเซอไรด์ หลายชนิดผสมกัน ราวร้อยละ ๗๕ เป็นอนุพันธ์ของ ไดริซิโนลีโอกลีเซอร์ไรด์  นอกจากนี้ยังมีสารชื่อ ไตรริซิโนเลอิน สารนี้จะมีปริมาณมาก เมื่อเมล็ดละหุ่งแก่จัด ในทางเดินอาหาร สารนี้จะถูกละลายเป็นกรดริซิโนเลอิก ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาระบาย

ในทางเภสัชกรรม 
น้ำมันละหุ่งใช้กินเป็นยาระบาย หรือยาถ่ายอย่างอ่อนมีฤทธิ์กระตุ้นผนังลำไส้ให้บีบตัว ขับกากอาหารออกมา มักใช้ในผู้ป่วยโรคท้องเดินเฉียบพลัน ที่เกิดจากอาหารเป็นพิษ เพื่อขับถ่ายอาหารที่เป็นพิษออกมา ทั้งยังใช้ในทำความสะอาดลำไส้ ก่อนการฉายภาพกระเพาะอาหารและลำไส้ด้วยรังสีเอกซ์ แต่มีข้อเสียคือ ผู้ป่วยลางรายที่กินน้ำมันละหุ่ง อาจมีการอาการปวดมวนท้อง อืดในท้องได้ น้ำมันราหูที่เตรียมในรูปอย่าขี้ผึ้ง ความเข้มข้นร้อยละ ๕-๑๐ ทาแก้ผิวหนังอักเสบอันเกิดจากไขมันมากเกินไป และใช้ในใช้ทาในโรคผิวหนังอื่นๆ ใช้ผสมในสบู่ ยาสีฟัน และน้ำมันใส่ผม ใช้เป็นยาระบายในสัตว์ ในทางอุตสาหกรรมใช้เป็นตัวหล่อลื่นเครื่องจักรกลต่างๆเป็นต้น

 

รูปภาพจาก:loadwai.com,soaptable.com