สมุนไพรพรรณผักกาด

สมุนไพรพรรณผักกาด

พรรณผักกาดเป็นเมล็ดที่แก่จัดของพืชในสกุล Brassica วงศ์ Cruciferae ๒ ชนิด คือ

.พันธุ์ผักกาดขาว ได้จากพืชที่มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Sinapis alba L.มีชื่อพ้องหลายชื่อ เช่น Brassica alba (L.) Rabenh., Brassica alba (L.) Boiss.,Brassica hirta Moench พืชนี้มีถิ่นกำเนิดแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ชอบอากาศเย็น เป็นพืชขนาดเล็ก สูง๓๐-๘๐ เซนติเมตร ลำต้นมีขน ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนกัน มีก้านใบ ขอบใบหยักเว้าลึกแบบขนนก แฉก รูปไข่ ปลายมน ดอกออกรวมกันเป็นช่อกระจะตั้งตรง ดอกหญ้าสีเหลือง กลีบเลี้ยงมี ๕ กลีบ กลีบดอกมี ๕ กลีบ ขนาดเท่าๆกัน แต่ละกรีบยาว ๑ เซนติเมตร เกสรเพศผู้มี ๖ อัน เรียงเป็น ๒ วง อันยาวมี ๔ อัน อยู่วงนอก อันสั้นมี ๒ อัน อยู่ในวงวงใน เกสรเพศเมีย ๑ อัน ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก ยาวราว๒.๕-๔ เซนติเมตร มีขนและมีเส้นนูนๆ ๓  เส้น ปลายเป็นจะงอยเป็นแบนๆยาวมาก อาจยาวเท่ากับความยาวของฝัก หรือยาวกว่าเล็กน้อย เมื่อแก่จัดฝักจะแตกออก ภายในมีเมล็ด ๑-๒ เมล็ด พรรณผักกาดขาวมีน้ำมันระเหย ยากราวร้อยละ ๒๐-๒๕ มีสารที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบชื่อ สินาลบิน

.พรรณผักกาดดำ ได้จากพืชที่มีพื้นที่ชื่อพุทธศาสตร์ว่า Brassica juncea (L.) Czern. et coss.มีชื่อของหลายชื่อ เช่น Brassica nigra (L.) Koch,sinapis juncea L. พืชนี้มีถิ่นกำเนิดในยุโรปและเอเชีย ปลูกเป็นพืชอาสินในยุโรปกันนานแล้ว มีปลูกบ้างทางภาคเหนือของประเทศไทย เรียกกันหลายชื่อ เช่น ผักกาดเขียว (ภาคกลาง) ผักกาดจ้อน (เชียงใหม่) ผักกาดดำ ผักกาดโป้ง ผักเปิ๊ก (พายัพ) เป็นพืชขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง สูงได้ถึง ๑ เมตร เกลี้ยง แตกกิ่งมาก ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนกัน ไม่มีหูใบ ใบที่โคนต้นรูปขอบขนานแกมรูปหอก ขอบใบหยักเป็นแฉก ยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร มีก้านใบ ไปที่อยู่ตอนบนๆรูปใบหอกแคบๆ ก้านใบสั้นมากหรือไม่มีเลย ดอกออกรวมกันเป็นช่อกระจะตั้งตรงที่ปลายยอด ดอกหญ้าสีเหลืองสด สมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงมี ๔ กลีบ รูปไข่แกมรูปรี กลีบดอกมี ๔ กลีบ โคนกลีบสอบแคบ คล้ายก้านขอบขนาน เกสรเพศผู้มี ๖ อัน เรียงเป็น ๒ วง อันยาว ๔ อันอยู่วงนอก อันสั้น ๒ อันอยู่วงใน เกสรเพศเมีย ๑ อัน ผลเป็นฝักรูปยาวแคบแกมรูปใบหอก ยาวราว ๑.๒-๓.๕ เซนติเมตร มีจำนวนตรงค่อนข้างแบน ยาว ๑.๒ เซนติเมตร เมล็ดมีขนาดเล็ก ดำหรือสีน้ำตาล ผิวขรุขระ พรรณผักกาดดำมีน้ำมันระเหยยากอยู่มากกว่าพันผักกาดขาวคือราวร้อยละ ๓๐ – ๓๕  มีสารที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบชื่อซินิกริน พรรณผักกาดที่บดเป็นผง และแยกเอาเปลือกหุ้มเมล็ดออก เรียกว่าพรรณผักกาดผง (ground mustard)

หรือแป้งพรรณผักกาด (mastard flour) เมื่อแยกเอาน้ำมันระเหยยาก ซึ่งอาจมีอยู่มากถึงร้อยละ ๓๕ ออกไปแล้ว พรรณผักกาดนี้จะไม่มีกลิ่น (ถ้าแห้ง) เมื่อคลุกเคล้ากับน้ำจะเริ่มมีกลิ่น เนื่องจากสารซินิกริน ถูกย่อยสลายโดยน้ำย่อยที่มีอยู่ในพรรณผักกาด ได้สารอัลลิลไอโซโทโอไซยาเนต ซึ่งมีกลิ่นและระเหยง่าย เมื่อเอาพรรณผักกาดผงที่สกัดเอาน้ำมันระเหยยากออกและคลุกเคล้ากับน้ำจนมีกลิ่นแล้ว มากกลั่นด้วยไอน้ำ จะได้น้ำมันระเหยง่ายราวร้อยละ ๐.๖  น้ำมันระเหยง่ายเรียก น้ำมันพรรณผักกาด พรรณผักกาดขาวจะไม่ให้น้ำมันระเหยง่ายนี้ พรรณผักกาดที่บดเป็นผง นวดกับน้ำ แล้วผสมกับขมิ้นชัน [(turmeric) Curcuma longa L.] จะได้เครื่องเทศที่เรียก มัสตาร์ด  ซึ่งเป็นเครื่องปรุงแต่งอาหาร

ตำราสรรพคุณยาโบราณว่า 
พรรณผักกาดมีรสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณขับเสมหะ และโลหิต แก้จุกเสียด แก้ลม เป็นยาระบายอย่างอ่อนๆ ในตำราบำบัดสรรพโรคระบุว่า ผงพรรณผักกาด ๑ ช้อน ผสมกับแป้งข้าวเจ้า ๕ ช้อน ใส่น้ำพอเหนียว พอกปิดหน้าอกเป็นยาดูดถอนพิษปอดบวมได้ดีมาก หรือใช้พรรณผักกาด ๒ ส่วน แป้งข้าวเจ้า ๓ ส่วนการบู ๑ ส่วน ป่นเข้าด้วยกันจนเหนียวดีแล้ว ให้ปิดตามที่อักเสบบวมร่างกายตามร่างกาย ดูถอนพิษและเกลื่อนฝีได้ดี

เครื่องยาที่เป็นผลิตผลจากพืช เรื่องยาพฤกษวัตถุอาจไม่จำเป็นต้องได้จากส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นราก ลำต้น ใบ ดอก ผล หรือเมล็ดก็ตาม แต่อาจเป็นผลผลิตจากพืช พืชสร้างผลผลิต สร้างผลิตผลเหล่านั้นขึ้นมาโดยเซลล์พิเศษ อันพบได้จากทุกส่วนของต้น หรือจากเฉพาะลางส่วนของพืชเท่านั้น  ผลผลิตจากพืชอาจแบ่งออกได้เป็นหลายกลุ่ม แต่ในที่นี้ขอแบ่งตามธรรมชาติขององค์ประกอบทางเคมีในผลิตผลนั้น โดยเน้นที่กลุ่มผลิตผล ที่มาจากที่นำมาใช้มากในยาไทย ดังนี้

 

รูปภาพจาก:maidokonline.com,kapook.com