สมุนไพรใบตองแตก

สมุนไพรใบตองแตก

ใบตองแตกใบตองแตกเป็นใบเพสลาด ของพืช
มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Baliospermum solanifolium (Burm.) Suresh
ในวงศ์ Euphorbiaceae

พืชชนิดนี้เมื่อแผ่นใบไม่เว้าเป็นแฉก บางถิ่นเรียก ต้นทนดี ไม่มีแผ่นใบเว้าเป็นแฉกๆข้างเดียวบ้าง ทั้งสองข้างบ้าง บางถิ่นเรียก ต้นตองแตก (คำว่า ตอง แปลว่า แผ่นใบไม้ที่มีขนาดใหญ่ เช่น ตองกล้วย ตองตึง) เมื่อในต้นเดียวกันมีทั้งใบแฉกและแฉก ลางถิ่นเรียกรวมๆกันว่า ต้นตองแตกทนดี พืชชนิดนี้เป็นไม้พุ่ม สูง ๑-๒ เมตร แตกแขนงจากรากยอดอ่อน มีขน ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ มีขนาดและรูปร่างต่างๆกันไป ตามยอดเป็นรูปใบหอกหรือรูปรี กว้างราว ๓.๕ เซนติเมตร ยาวราว ๗ เซนติเมตร ใบที่อยู่ตามโคนต้นมักมีหยัก ๓-๕ แฉก รูปขอบขนานแกมรูปไข่ หรือรูปเกือบกลม กว้างราว ๗.๕ เซนติเมตรยาว ๑๕-๑๘ ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยห่างๆไม่สม่ำเสมอกัน โคนใบสอบหรือมน มีต่อม ๒ ต่อม  เนื้อใบบาง ก้านใบเรียวยาว ๒-๖ เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อตามง่ามใบ ดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน หรือบนช่อเดียวกัน ช่อดอกเรียวเล็ก ยาว ๓.๕-๑๒ เซนติเมตร ดอกเพศผู้มีจำนวนมาก อยู่ทางตอนบนของช่อ มีกลีบเลี้ยง ๔-๕ กลีบ ไม่มีกลีบดอก มีเกสรเพศผู้ ๑๕-๒๐ อัน เหลาเพศเมียออกดอกที่โคนช่อ มีฐานรองดอกรูปถ้วยสั้นๆ ผลมี ๓ พู กว้างยาวราว ๑ เซนติเมตร  ปลายเว้าเข้า โคนผลกลม ยังมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ ผลแก่แตกตามยาวที่กลางพู แต่ละพู มี ๑ เมล็ด เมล็ดรูปขอบขนาน
ตำราสรรพคุณยาโบราณว่า ใบตองแตกมีรสจืด ชงกินน้ำแก้หอบหืด น้ำต้มใบกินเป็นยาระบาย เมล็ดรสจืด เป็นยาถ่ายอย่างแรง ใช้แทนน้ำมันสลอดได้ รากมีรสจืด เป็นยาถ่ายชนิดที่ไม่ทำให้มวลท้องไซ้ท้อง แก้ปวดบวม ขับปัสสาวะ ขับพยาธิ แก้ม้ามอักเสบ

 

รูปภาพจาก:NanaGarden.com, thaikasetsart.com,สมุนไพร