บทที่ ๑ หมวดแอนเนลิดา

บทที่  ๑

หมวดแอนเนลิดา

หมวดแอนเนลิดา(phylum  Annelida)  เป็นหมวดของพวกหนอนที่มีลำตัวเป็นปล้อง สัตว์ในหมวดนี่จัดเป็นสัตว์ที่มีช่องตัวที่แท้จริงและโบราณยิ่ง มีลักษณะสำคัญคือ ลำตัวกลมยาวคล้ายวงแหวนต่อกันเป็นปล้องภายในมีเยื่อกั้นระหว่างปล้อง แต่ละปล้องมีรยางค์สั้นๆเรียก ขนแหลม(setae)  ผิวหนังเปียกชื้นมีระบบเลือดหมุนเวียนอยู่ในเส้นเลือด มีระบบประสาทและระบบทางเดินอาหารสืบพันธ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศมีอวัยวะสืบพันธ์ของทั้ง ๒ เพศอยู่ในตัวเดียวกัน

 สัตว์ในหมวดนี้พบได้ทั้งบนบก เช่น ไส้เดือนดิน ทาก และในน้ำ เช่น ปลิง แม่เพรียง จำแนกย่อยออกได้เป็น ๓ ชั้น คือ ชั้นแม่เพรียง(Class  Polychaeta) ชั้นไส้เดือนดิน  (Class Oligochaeta) และชั้นปลิง(Class  Hirudinea) แต่เฉพาะ ๒ ชั้นหลังเท่านั้นที่มีชนิดสัตว์ที่มีประโยชน์ทางยา

ชั้นไส้เดือนดิน
หนอนปล้องในชั้นนี้ไม่มีรยางค์ข้างตัว แต่มีขนแหลมช่วยในการเคลื่อนที่ ผิวหนังบาง จึงสามารถทำหน้าที่หายใจได้ บริเวณใกล้หัวมีรอยคอดซึ่งมีต่อมสร้างเมือกสำหรับหุ้มไข่ มี ๒ เพศในตัวเดียวกัน เวลาผสมพันธ์จะกลับหัวกลับหางกัน ต่างฝ่ายต่างรอรับน้ำเชื้อเพื่อรอการผสมต่อไปตัวอย่างเช่น ใส้เดือนดิน

ไส้เดือนดิน
ไส้เดือนดิน(earthworm) ลำตัวเป็นสีแดง ลางถิ่นจึงเรียก ไส้เดือนแดง ไส้เดือนดินที่พบทั่วไปในประเทศไทยจัดอยู่ในสกุล Pheretima  มีหลายชนิด เช่น  Pheretima  aspergillum(E. Perrier) ชนิดนี้มีขนาดใหญ่กว้าง ๕-๑๒ มิลลิเมตร  ยาว ๑๑-๓๒ เซนติเมตร นำมาล้างน้ำให้สะอาดตากแดดให้แห้งหรือเผาเป็นเถ้า(เอาเถ้ามาทำยา)

 

รูปภาพจาก:cmu.ac.th