ข้อพึงรู้เกี่ยวกับเครื่องยา

ข้อพึงรู้เกี่ยวกับเครื่องยา

โบราณจารย์สอนไว้ว่า สรรพวัตถุซึ่งมีอยู่ในโลกนี้ ล้วนกำเนิดจากธาตุทั้ง ๔ แล้วใช้เป็นยาบำบัดโรคได้ทั้งสิ้น แต่จะมีสรรพคุณมากน้อยกว่ากันอย่างไร ขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุนั้นๆ แพทย์ผู้ปรุงยาจึงต้องรู้จักเครื่องยาใน ๕ ประการคือ ธาตุทั้ง ๔ ในตำราพระโอสถพระนารายณ์มีบันทึกตอนหนึ่งเกี่ยวกับธาตุทั้ง ๔ ไว้ไว้ว่า

อย° กาโย อันว่ากายเราทั้งหลายนี้ เหตุธาตุทั้ง๔ เปนที่ตั้งแห่งกายแลอายุ ถ้าธาตุทั้ง๔ มิได้บริบูรณ์แล้วเมื่อใด สมุฏฐานก็แปลไปให้กำเนิดแก่โรคเมื่อนั้น เวชโช อันว่าแพทย์ผู้พยาบาลไข้สืบไปเมื่อน่า จงพิจารณาให้แจ้งไปในปฐมธาตุทั้งหลาย อันจัแปรปรวนพิการกำเริบ ตามฤดูเดือนวันเวลาอายุที่อยู่เกิดก่อนจึงจะรู้กำเนิดไข้….ปราชญ์อินเดียโบราณถือว่า ร่างกายเราประกอบด้วยธาตุทั้ง ๓ เท่านั้น คือ ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ ความเชื่อเรื่องธาตุทั้ง ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ เริ่มจากลัทธิจารวาก ซึ่ง พีะไตรปิฎก เรียกลัทธินี้ว่า “โลกายัต” และเรียกอาจารย์ในลัทธินี้ว่า “ครูทั้ง๖” คติความเชื่อเรื่องธาตุทั้ง๔ในพระพุทธศาสนาน่าจะมาจากลัทธินี้ส่วนศาสนาฮินดูเชื่อว่า ร่างกายประกอบด้วยธาตุทั้ง๕ คือเพิ่มธาตุอากาศเข้ามา อย่างไรก็ตาม ลีทธิจารวากอธิบายว่า อากาศไม่ใช่ธาตุ เพราะสัมผัสไม่ได้จะรู้ก็ด้วยอนุมานเพียงอย่างเดียว

คัมภีร์หรือตำราแพทย์แผนไทยส่วนใหญ่กล่าวถึงธาตุทั้ง๔เท่านั้น มีเพียงเล่มเดียวคือ คัมภีร์ฉันทศาสตร์ ซึ่งมีข้อความระบุว่า ธาตุทั้ง ๕ นั้นมาจากคัมภีร์โรคนิทาน ดังข้อความ “…มีวาระพระบาฬีในคัมภีร์พระบรมรรถธรรมนั้น ว่าด้วยคนจะถึงความมรณะสิ้นอายุนั้น เทวทูตในธาตุทั้ง๔ก็มีพรรณสำแดงออกให้แจ้งปรากฎ…”

๑.รู้จักรูปยา คือ รู้ว่าเครื่องยาที่ใช้เป็นอะไร เป็นส่วนใดจากพืช (หากเครื่องยานั้นเป็นพฤกษวัตถุ) เช่น ใบ ดอก ผล เปลือก กระพี้ แก่น หรือราก
๒.รู้จักสียา คือรู้จักสีของเครื่องยา รู้ว่าเครื่องยาอย่างนี้มีสีขาว สีเหลือง สีเขียว หรือสีดำ เช่น รู้ว่าการะบูนมีสีขาว รงทองมีสีเหลือง ฝางเสนมีสีแสดแดง หรือสีแดงแสด ยาดำมีสีดำ
๓.รู้จักกลิ่นยา คือรู้จักกินของเครื่องยา รู้ว่าอย่างนี้มีกลิ่นหอม อย่างนั้นกลิ่นเหม็น เช่น พิมเสน หญ้าฝรั่นกฤษณา กระลำพัก ชะลูด อบเชย ขอนดอก เป็นของหอม ยาดำ มาหาหิงคุ์ เป็นของเหม็น ๔.รู้จักรสยา คือรู้จักรสของเครื่องยา รู้ว่ายาอย่างนี้มีรสจืด รสฝาด รสหวาน รสเบื่อ รสเมา รสขม รสมัน รสเย็น รสเค็ม รสเปรี้ยว เช่น เบญกานี-รสฝาด ชะเอม-รสหวาน เมล็ดสะบ้า-รสเบื่อเมา บอระเพ็ด-รสขม พริกไทย-รสเผ็ดร้อน เมล็ดงา-รสมันดอกมะลิ-รสหอมเย็น มะขามเปียก-รสเปรี้ยว
๕.รู้จักชื่อยา คือรู้จักชื่อของเครื่องยา รู้ว่าชื่ออย่างนั้นอย่างนี้คืออะไร มีชื่อเรียกแตกต่างแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่นอย่างไรบ้าง แพทย์ปรุงยาผู้รู้จักเภสัชวัตถุในรายละเอียดทั้งห้ ประการนี้เท่านั้น จึงสามารถนำเอาเครื่องยาที่ถูกต้องที่ระบุไว้ในตำรายา มาปรุงเป็นยาที่ใช้แก้โรคได้ตามต้องการ

 

รูปภาพจาก:pantip.com,blogspot.com,goodhealth1999.com