น้ำผึ้งและน้ำผึ้งรวง

น้ำผึ้งและน้ำผึ้งรวง

น้ำผึ้ง เป็นน้ำหวานที่ตัวผึ้งเก็บจากน้ำต้อยหรือน้ำหวานจากต่อมน้ำหวานของดอกไม้ แล้วเอามาสะสมไว้ในรวงผึ้งเพื่อเป็นอาหารเลี้ยงผึ้งตัวอ่อน ส่วนน้ำผึ้งที่บีบจากรวงผึ้งในธรรมชาติเรียกว่าน้ำผึ้งรวง

น้ำผึ้งเป็นผลิตผล ที่ได้จากการบีบหรือคั้นรังผึ้งเอามากรองผ่านตะแกรงและผ้ากรอง แล้วตักทิ้งไว้จนหมดฟองอากาศ ถ้าน้ำผึ้งที่ได้มีน้ำมากให้เอามาอุ่นที่ ๖๕ °ครึ่งชั่วโมง ถึง ๑ ชั่วโมงเพื่อให้น้ำระเหยออกไปบางส่วน น้ำผึ้งที่ดีควรมีน้ำอขี้ผึ้งยู่เล็กน้อยคือราวร้อยละ ๑๗ ถึง ๒๐ ไม่ควรมากกว่าร้อยละ ๒๐ เมื่อใช้ไม้จิ้มขึ้นมาจะไหลหยดเป็นสายบางๆไม่ขาดสาย ลงมาพับกันเป็นชั้นๆก่อนจะรวมกันเป็นเนื้อเดียวกันอีกและควรมีความถ่วงจำเพาะระหว่าง ๑.๓๕๙-๑.๓๖๑ เมื่อยังใหม่อยู่ จะใสคล้ายน้ำเชื่อม มีสีเหลืองอ่อนหรือสีน้ำตาลปนแดง มีกลิ่นหอมเฉพาะระคนกับกลิ่นดอกไม้ ที่พึ่งไปเก็บน้ำต้อยมา นานเข้าจะมีผลึกของเดร็กโทรส( dextrose) หรือน้ำตาลองุ่นเกิดขึ้น

น้ำต้อยที่ผึ้งงานดูดจากดอกไม้ส่วนมากจะเป็น ซูโครส (sucrose)หรือน้ำตาลอ้อย เมื่อผ่านลำคอของตัวผึ้ง จะถูกน้ำย่อยแปรซึ่งอยู่ในน้ำลายผึ้งย่อยให้เป็นน้ำตาลแปร(invert sugar) คือ เดร็กโทรสกับฟรักโทรส (frugtose) หรือน้ำตาลผลไม้ก่อนที่จะถูกส่งไปเก็บในถุงเก็บน้ำผึ้ง(honey sac) ในตัวผึ้ง ส่วนในน้ำผึ้งจะมีองค์ประกอบน้ำตาลอยู่ราวร้อยละ ๕๐-๙๐ มีน้ำตาลอ้อยอยู่ราวร้อยละ ๐.๑-๑๐ มีน้ำตาลผลไม้อยู่ราวร้อยละ ๔๐ นอกจากนั้นยังมีวิตามินต่างๆหลายอย่างเช่นวิตามินบี๑ วิตามินบี๒ วิตามินบี๖ วิตามินซี

น้ำผึ้งใช้เป็นทั้งอาหารและยา ใช้เป็นน้ำกระสายยา ใช้ผสมกับผงยาเพื่อปั้นเป็นยาลูกกลอน ใช้ทาแผลและกินเป็นยาบำบัดโรคโบราณยังใช้แช่อวัยวะไม่ให้เน่าเปื่อย ตำราสรรพคุณยาโบราณว่าน้ำพึ่งใหม่มีรสหวาน ร้อน ฝาด มีสรรพคุณบำรุงกำลัง แก้สะอึก แก้ไข้ตรีโทษ เป็นยาอายุวัฒนะ ว่ากันว่า น้ำผึ้งเดือนห้านั้นดีที่สุด เพราะเป็นช่วงที่แล้งที่สุด น้ำผึ้งที่ได้จึงมีน้ำเจืออยู่น้อย

ในตำราพระโอสถพระนารายณ์ น้ำผึ้งและน้ำผึ้งรวงเป็นน้ำกระสายยาที่ใช้มากที่สุด คือ ยาขนานที่ ๓, ๖, ๑๑, ๑๒, ๑๔, ๑๘, ๒๐, ๒๔, ๓๐, ๔๒, ๔๔, ๔๘, ๔๙, ๕๐, ๕๓, ๕๔, ๕๕ และ ๖๕ น้ำผึ้ง นอกจากใช้ละลายยา นอกจากใช้ละลายยา เพื่อให้กินยาได้ง่ายขึ้นแล้ว ยังช่วยบำรุงกำลังให้กับผู้ป่วยอีกด้วยเช่น ยาในยาขนานที่ ๕๓ “ยามหากทัศใหญ่” ให้เลือกใช้ น้ำผึ้ง น้ำขิง น้ำส้มซ่า หรือน้ำกระเทียม ตามแต่แพทย์ผู้วางยาจะยักกระสาย

ชาวไทยโบราณนิยมใช้น้ำผึ้งเป็นน้ำกระสายสำหรับป้อนยาให้เป็นลูกกลอนหรือยาแท่งเช่น ในยาขนานที่ ๔๙ ใช้น้ำผึ้งที่เคี่ยวให้เป็นยางมะตูมเป็นกระสัยสำหรับปั้นยาลูกกลอนกินครั้งละหนัก ๑ สลึง ดังนี้

  • ถ้าจะให้ทุเลาธาตุ เอาพริก เจตมูลเพลิงแต่สิ่งละส่วน เอาสหัสคุณ ๒ ส่วน ๓ ส่วน ๔ ส่วนก็ตามเถิด ลงแล เมื่อจะประสมยานั้น เคี่ยวน้ำผึ้งให้เป็นยางตูม จึงเอายาผงปรุงลง บดปั้นเป็นลูกกอน กินหนักสลึงหนึ่ง แก้ริศดวง  แก้ลมสระสาย ลมสันดาน ป้าง ท้องมาร จุกกระผามม้ามย่อย พยาดเกิดในทรวงอก โลหิตตก ตกมูก ตกทวารทั้ง๙ ตกเลือด เสมหะปะทะขึ้น ถอยสิ้นแลฯ

ผึ้งที่ให้น้ำผึ้ง (honey bee) เป็นสัตว์จำพวกแมลงที่ชอบทำรังทำรวงรังอยู่รวมเป็นกลุ่มมนุษย์รู้จักใช้ประโยชน์จากผลผลิตของผึ้ง และรู้จักน้ำผึ้งนำผึ้งมาเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์จากผลผลิตโดยเฉพาะน้ำผึ้ง มาเป็นเวลานับพันปีแล้ว ชาวไอยคุปต์ (อียิปต์โบราณ) ได้บันทึกการใช้ประโยชน์จากน้ำผึ้ง ทั้งใช้เป็นอาหารเป็นยาและใช้ในการเตรียมศพ อาบน้ำยาหรือมัมมี่ ชาวจีนโบราณเองก็รู้จักใช้ประโยชน์จากน้ำผึ้ง ทั้งเป็นยาเป็นอาหารและใช้รักษาเนื้อไม่ให้เน่าเปื่อย

ผึ้งที่ให้น้ำผึ้งเป็นแมลงที่จัดอยู่ในอันดับ Hymenoptera วง Apidae ผึ้งที่ให้น้ำผึ้งทั้งหมดจัดอยู่ในสกุล Apis ทั่วโลกมีอยู่หลายชนิด ในประเทศไทยพบได้ไม่น้อยกว่า ๕ ชนิด
๑. ผึ้งหลวง หรือผึ้งเขา (giant honey bee) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Apis dorsata Fabricius มีชื่อพ้อง Apis zonata Smith มีถิ่นกำเนิดในซีกโลกตะวันออก มีขนาดตัวผึ้งและลวงพรางขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับผึ้งทั้งหมดที่พบในประเทศไทย ลักษณะของรวงรางมีเพียงชั้นเดียว เป็นรูปครึ่งวงกลมไม่มีที่ปกปิดขนาดกลางโตวัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ ๐.๕๐-๑เมตร ผึ้งหลวงนี้ให้น้ำผึ้งได้มากที่สุด คนไทยนิยมบริโภคน้ำผึ้งจากผึ้งหลวงมากกว่าน้ำผึ้งชนิดอื่น ผึ้งหลวงมีพฤติกรรมดุกว่าผึ้งชนิดอื่น ผึ้งหลายชนิด ชอบทำรังในที่โล่งแจ้ง มักทำรังบนต้นไม้สูงๆ หรือภายนอกอาคารบ้านเรือน หรือตามหินผา จึงไม่เหมาะที่จะเลี้ยงเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ ผึ้งหลวงมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศเอเชียอาคเนย์ขึ้นไปถึงภาคใต้ของประเทศจีน พม่า ศรีลังกา และไปสิ้นสุดทางภาคตะวันตกของประเทศอินเดีย

๒. ผึ้งมิ้ม (Little honey bee) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Apis florea Fabricius เป็นผึ้งที่มีขนาดตัวผึ้งและหลังขนาดเล็ก เป็นรวงรังแบบชั้นเดียว โตวัดเส้นผ่าศูนย์กลางของร่างได้ราว ๒๐ เซนติเมตร จึงไม่มีประโยชน์ในการนำมาเลี้ยงเชิงเศรษฐกิจ ผึ้งมิ้มมักสร้างรังบนต้นไม้และในไม้ซุงที่ไม่สูง โดยทั่วไปจะเป็นที่ที่มีซุ้มใบไม้หรือกิ่งไม้ปกปิดเพื่อปกป้องกันภัย ผึ้งมิ้มนี้พบได้ทั่วไปในประเทศไทยและในทุกประเทศในเอเชียอาคเนย์ขึ้นไปถึงภาคใต้ของประเทศจีน พม่า อินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน จนถึงประเทศโอมาน คนในประเทศเหล่านี้บริโภคน้ำผึ้งจากผึ้งมิ้มกันทั้งสิ้นชาวบ้านในประเทศอินเดียและโอมานจะตัดรังผึ้งมิ้มมาเลี้ยง โดยจะคอยตักเอาน้ำผึ้งจากรังผึ้งมิ้ม ในฤดูเก็บเกี่ยวน้ำผึ้ง และการตัดรังมาเลี้ยงแบบนี้ ผึ้งมิ้มจะไม่อยู่นาน ส่วนใหญ่จะทิ้งรังไปเมื่อขาดแคลนอาหาร

๓. ผึ้งโพรงหรือผึ้งโก๋น (eastern honey bee) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Apis cerana Fabricius ชื่อพ้อง Apis indica Fabricius เป็นผึ้งที่มีขนาดตัวผึ้งใหญ่กว่าผึ้งมิ้ม แต่เล็กกว่าผึ้งหลวง ชอบสร้างรังในโพรงไม้ในกระบอกไม้ หรือในอาคารบ้านเรือนที่มิดชิดและมืด เช่นใต้หลังคาบ้าน รวงรังจะมีลักษณะเป็นรังหลายชั้นเรียงขนาดกันโตวัด เว้ยผ่าศูนย์กลางได้ราว ๓๐ เซนติเมตร เหมาะสำหรับนำผึ้งมาเลี้ยงได้เช่นเดียวกับผึ้งเลี้ยง นิยมเลี้ยงกันมากในประเทศจีน น่าจะให้ผลผลิตสูงและไม่ทิ้งรังง่าย ผึ้งโพรงมีเขตกระจายพันธุ์ในทุกประเทศของทวีปเอเชีย จึงรู้จักกันทั่วไปในชื่อสามัญว่า Asian honey bee)) จัดเป็นผึ้งอุตสาหกรรมที่สำคัญของทวีปเอเชีย แบ่งออกได้เป็น ๓ ชนิดย่อย มีผึ้งโพรงจีน พบได้ในประเทศจีนขึ้นไปถึงภาคเหนือของทวีปเอเชียเป็นโพรงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ผึ้งโพรงญี่ปุ่นพบได้ในเกาะต่างๆในประเทศญี่ปุ่นและทะเลจีนเหนือเป็นผึ้งโพรงที่มีขนาดกลาง เล็กกว่าก็ผึ้งโพรงจีนเล็กน้อย สีเข้มกว่าผึ้งโพรงจีน และผึ้งโพรงไทยหรือผึ้งโพรงอินเดีย พบทั่วไปในประเทศอินเดีย ศรีลังกา ไทย อินโดจีน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เป็นผึ้งโพรงที่มีขนาดเล็กที่สุดและมีสีเข้มที่สุด

๔. ผึ้งมิ้มเล็ก (small dwarf honey bee) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Apis andrenifromis Smith เป็นผึ้งที่มีขนาดของตัวผึ้งและรังเล็กที่สุดในโลก มีลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชี้วัดชีววิทยาบางอย่างคล้ายคลึงกับผึ้งมิ้ม พบครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ ๒๔๐๑ ใน ซาราวัก บอร์เนียว และแหลมมาลายู มีรายงานการพบครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ โดยผู้เชี่ยวชาญพึ่งของประเทศไทย ในประเทศไทยพบเครื่องบินเล็กในเขตภูเขาในเขตจังหวัดจันทบุรี อุทัยธานี และเชียงราย โดยมักพบในบริเวณที่ ภพผึ้งมิ้ม แต่มักพบผึ้งมิ้มเล็กในปริมาณที่น้อยกว่ามาก

๕. ผึ้งเลี้ยง หรือผึ้งฝรั่ง หรือผึ้งพันธ์ (Common honey bee หรือ European honey bee) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Apis mellifera Linnaeusเป็นผึ้งที่เลี้ยงกันทั่วไป เดิมมีถิ่นฐานกำเนิดในซีกโลกตะวันตก เป็นผึ้งที่มีการศึกษาทางด้านชีววิทยามากที่สุด ปัจจุบันมีการเลี้ยงกันทั่วโลกชื่อชนิด mellifera ของผึ้งชนิดนี้แปลว่ามีน้ำผึ้งอยู่ คำ(mel ในภาษาลาติน แปลว่า น้ำผึ้ง) สันนิษฐานว่าผึ้งเลี้ยงมีวิวัฒนาการมาจากผึ้งโพรง ซึ่งจะมีถิ่นกำเนิดแถบรอยต่อระหว่างทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย บริเวณใกล้กับภาคเหนือของประเทศอินเดีย ต่อมาจึงแพร่กระจายผ่านเข้าไปในยุโรป และปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ได้ดี จึงกลายเป็นผึ้งพื้นเมืองของยุโรปและแอฟริกาไปไหนที่สุด ผึ้งเลี้ยงมีขนาดใหญ่กว่าผึ้งโพรง แต่เล็กกว่าผึ้งหลวง มีความยาวของลำตัวราว ๘-๑๐ มิลลิเมตร มีความกว้างกว้างของส่วนนอกราว ๔ มิลลิเมตร มีพฤติกรรมการสร้างรังเรียงซ้อนกันขึ้นเป็นชั้น เหมือนผึ้งโพรง นิสัยไม่ดุร้าย สามารถสะสมน้ำผึ้งได้ในปริมาณมาก ทั้งยังมีขนาดรังที่เหมาะสมสำหรับการนำมาเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ จึงถูกนำมาเลี้ยงเป็นอุตสาหกรรมทั่วโลก  ผึ้งเลี้ยงที่เลี้ยงกันเป็นแมลงอาสิน (Economic insert) มีอย่างน้อย ๓ ชนิดย่อยคือผึ้งเลี้ยงสีเข้ม (Dark bee) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Apis mellifera mellifera เป็น ผึ้งเลี้ยงทางภาคเหนือของทวีปยุโรป ผึ้งเลี้ยงคาร์นิโอลันส์ (Carniolans bee) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Apis mellifera caucasica เป็นผึ้งเลี้ยงแถบคอเคซัส หรือภาคใต้ของทวีปยุโรป และผึ้งเลี้ยงอิตาลียนสีเหลือง (Italian bee) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Apis mellifera ligustica มีถิ่นเดิมในประเทศอิตาลี เป็นชนิดย่อยที่นิยมเลี้ยงกันเกือบทั่วโลกในปัจจุบัน และนำเข้ามาเลี้ยงในประเทศไทยมากที่สุด

ชีววิทยาของผึ้งในสกุล Apis ทุกชนิดคล้ายๆกัน แต่นักวิทยาศาสตร์เข้าใจชีววิทยาของผึ้งเลี้ยง(Apis mellifera Linnaeus) ดีที่สุด เนื่องจากมีการศึกษากันมานาน และเป็นพันธุ์ที่เลี้ยงกันในเชิงพาณิชย์กับทั่วโลก นักวิทยาศาสตร์จึงใช้ชีววิทยาของผึ้งเลี้ยงอธิบายสังคมของตัวผึ้งโดยทั่วไป ผึ้งเป็นแมลงที่มีที่เป็นสัตว์สังคม มีการจัดระบบระเบียบการควบคุมและการจัดสรรแบ่งภาระหน้าที่ของสมาชิกในสังคมอย่างชัดเจน ในรังผึ้งผึ้งในรังผึ้งหนึ่งๆ จะมีตัวผึ้งอยู่ราว ๑๐,๐๐๐-๕๐,๐๐๐ ตัวแบ่งเป็นตัวผึ้ง ๓ ประเภทคือ

๑.ผึ้งนางพญา (queen bee) ในรังผึ้งแต่ละรังจะมีนางพญาผึ้งเพียงตัวเดียว ทำหน้าที่แพร่พันธุ์ เพาะลูกอ่อน เพื่ อเจริญเป็นตัวผึ้งสำหรับทำหน้าที่ต่างๆ นางพญาผึ้งมีลำตัวยาวรี  มีปีกสั้นกว่าลำตัว มีสีสันเด่นกว่าผึ้งงานและผึ้งตัวผู้ ผึ้งนางพญาจะมีชีพจักรในระยะเป็นไข่ ๓ วัน ระยะตัวหนอน ๗ วัน และระยะดักแด้ ๖ วัน วันโดยจะถูกป้อนด้วยอาหารพิเศษเฉพาะที่ผึ้งงานสร้างเอาไว้สำหรับเลี้ยงนางพญาผึ้ง ที่เรียก นมผึ้ง หรือ rayal Jelly เมื่อนางพญาผึ้งมีอายุได้ ๗-๑๐ วัน ก็จะบินจากรังผสมพันธุ์กับตัวผู้กล้าอากาศ แล้วกลับมาวางไข่แล้วจะผสมพันธุ์ราว ๓-๗ วัน โดยวางไข่คคาวละ ๒,๐๐๐-๓,๐๐๐ ฟอง จนหมดอายุ นอกจากนั้นนางพญาผึ้งยังทำหน้าที่ควบคุมรัง ด้วยการผลิตฮอร์โมนที่เป็นสารเคมีที่มีกลิ่น (insert pheromone) เพื่อให้ผึ้งในรังอยู่และทำหน้าที่เป็นปรกติ ตามธรรมชาติ นางพญาผึ้งนี้จะมีอายุได้ ๔-๕ ปี โดยก่อนตายไปจะมีการเปลี่ยนนางพญาผึ้งใหม่ ๒.ผึ้งงาน (working bee) เป็นผึ้งตัวเมียที่ไม่สมบูรณ์

โดยจะเป็นผึ้งพรหมจรรย์ที่ไม่สามารถผสมพันธุ์ได้ และเป็นหมันตลอดชีวิต ผึ้งงานมีขนาดลำตัวเล็กกว่าผึ้งประเภทอื่น และเป็นประชากรส่วนมากที่สุดในรังผึ้งหนึ่งๆ ผึ้งงานจะหวงนางพญาผึ้งมาก และจะทำหน้าที่เปลี่ยนไปตามอายุ ชีพจักรของผึ้งงานในระยะเป็นไขและระยะตัวหนอนเหมือนกับนางพญาผึ้ง แต่มีระยะดักแด้ยาวกว่าคือ ๑๑ วัน จากนั้นก็เจริญเป็นผึ้งงาน โดยมีอายุ ๑-๓ วัน มีหน้าที่ทำความสะอาดรัง อายุ ๔-๑๐ วัน มีหน้าที่ปรุงอาหารและให้อาหารเกสรดอกไม้และน้ำหวานเลี้ยงตัวอ่อนและตัวเต็มวัยอายุ ๑๒-๑๖ วัน มีหน้าที่ผลิตขี้ผึ้งสำหรับสร้างและซ่อมแซมรังอายุ ๑๗-๒๑ วัน ทำหน้าที่ป้องกันรัง ต่อยศัตรู เรียนรู้และสำรวจพื้นที่ตั้งรังผึ้ง แล้วเมื่ออายุ ๒๒ วัน ขึ้นไปจนสิ้นอายุ ทำหน้าที่ให้อาหารมาเลี้ยงในรัง โดยออกไปดูดนํ้าต้อยจากเกสรดอกไม้ น้ำ และยางไม้ ได้ในรัศมี ๓-๕ กิโลเมตร แล้วเอามาเก็บไว้ในรวงผึ้ง เนื่องจากผึ้งงานต้องทำงานหนัก จึงมีอายุค่อนข้างสั้น คือราว ๔๕-๘๐ วันเท่านั้น ส่วนผึ้งงานที่เกิดมาพิการ จะถูกสังคมผึ้งทอดทิ้งหรือขับออกจากรัง เพราะไม่สามารถทำงานให้กับสังคมผึ้งได้

๓.ผึ้งตัวผู้ (drone) ตัวโตกว่าผึ้งงาน ตาโต และมีขนตามลำตัว มีปีกยาวมาก มีหน้าที่ผสมพันธุ์กับนางพญาผึ้งเท่านั้น และจะอยู่ในรังผึ้งเป็นครั้งคราวเฉพาะช่วงผสมพันธุ์เท่านั้นชีพจักรของผึ้งตัวผู้ คือ อยู่ในระยะเป็นไข่ ๓ วัน ระยะตัวหนอน ๙วัน และระยะดักแด้อีก ๑๒ วัน จากนั้นจะกลายเป็นผึ้งตัวผู้ซึ่งจะโตเต็มวัย พร้อมทำหน้าที่ผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ ๑๖ วันขึ้นไป ซึ่งตัวผู้ตัวหนึ่งๆ จะผสมพันธุ์กับนางพญาผึ้งได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น เมื่อผสมพันธุ์เสร็จแล้วจะตายทันที ในรังรังหนึ่งจะมีจำนวนตัวผู้ไม่แน่นอน แต่จะมีมากในฤดูผสมพันธุ์ ผึ้งตัวผู้จะไม่ออกหาอาหารเพราะหาอาหารไม่เป็น หากไม่ได้ผสมพันธุ์หรือไม่มีประโยชน์อีกแล้วก็จะถูกกำจัดจากรังโดยผึ้งงาน

ในรวงผึ้งนั้นแบ่งออกเป็น ๒ ตอน ตอนบนเป็นที่เก็บสะสมน้ำผึ้ง ส่วนตอนล่างเป็นที่อยู่อาศัย นอกจากในรวงผึ้งจะมีน้ำผึ้งแล้วยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากที่มนุษย์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้แก่

๑.ขี้ผึ้ง (beeswax) เป็นรังผึ้งที่เหลือจากการแยกเอาน้ำผึ้งออกไปแล้ว นำมาต้มกับน้ำจนรังผึ้งหลอมหมด ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น ขี้ผึ้งจะแข็งตัวลอยอยู่ชั้นบน สิ่งสกปรกจะละลายและตกตะกอนอยู่ในชั้นน้ำ แยกเอาขี้ผึ้งที่แห่งตัวมาหลอมใหม่ ช้อนเอาสิ่งสกปรกที่เบากว่าออก ตักส่วนที่สะอาดออกมาใส่ภาชนะ ทิ้งไว้ให้เย็น จะได้ขี้ผึ้งสีเหลือง (Yellow beeswax) ถ้าต้องการขี้ผึ้งสีขาว (White beeswax) ก็ให้ฝานขี้ผึ้งสีเหลือง เป็นแผ่นบางๆ หรือร้องขี้ผึ้งให้ละลาย แล้วทีในเทลงในน้ำเย็น ให้ขี้ผึ้ง เป็นแผ่นบางๆเล็กๆ แล้วนำไปตากแดดตากน้ำค้างราว ๑๐๐  กว่าวัน วิธีเก็บ ให้นำขี้ผึ้งมาหลอมรวมกัน เทใส่พิมพ์เป็นก้อนหรือเป็นแผ่น เก็บไว้ในภาชนะปิดมิดชิด เพื่อป้องกันฝุ่นหรือสิ่งสกปรกลงไปปน เก็บไว้ในที่เย็น ขี้ผึ้งที่ดี ควรเป็นก้อนสีเหลืองหรือสีน้ำตาลอ่อนหักได้ง่าย รอยหักไม่เรียบ เมื่อใช้มือถูหรือใช้นิ้วบี้จะอ่อนตัว มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ไม่ละลายน้ำ ละลายในอัลกอฮอล์ได้เล็กน้อย ละลายได้ดีใน อัลกอลฮอลล์ร้อน น้ำมันหอมระเหยต่างๆ อีเทอร์ และคลอโรฟอร์ม เป็นต้น

ตำราสรรพคุณยาโบราณว่าขี้ผึ้ง มีรสชุ่ม สุขุม ช่วยสมานแผล เรียกเนื้อ แก้ปวด แก้บิดเรื้อรัง แก้แผลเรื้อรังมีหนอง และแสถูกความร้อน นอกจากนั้นโบราณยังใช้หุ้มยาเม็ด เพื่อให้กินยาเม็ดนั้นไว้ด้นานขึ้น ใช้เป็นยาพื้นในการทำยา ขี้ผึ้ง เพื่อให้เนื้อยาพ่นหรือแข็งตัวขึ้น

๒. นมผึ้ง (royal Jelly) เป็นของเหลวข้นสีขาว คล้ายนมข้นหวาน ขับออกมาจากต่อมน้ำลายของผึ้งงาน เพื่อเป็นอาหารของนางพญาผึ้งในทางการค้า คนเลี้ยงผึ้งจะใช้พลาสติกทำเป็นรูปถ้วยขนาดใหญ่กว่าห้องเล็กๆในรังผึ้งเล็กน้อย วางไว้ในโครงรัง แล้วใส่ไข่ผึ้งในถ้วยพลาสติกนั้น ทำให้เพื่องานเข้าใจว่าจะเป็นที่เกิดนางพญาผึ้งตัวใหม่ ผึ้งงานจะมาคายนมผึ้งไว้จนเต็มถ้วย คนเลี้ยงผึ้งก็จะเก็บถ้วยพลาสติกนั้นไปเขี่ยแยกไข่ผึ้งออกแล้วเอานมผึ้งเก็บไว้ใช้ อีกวิธีหนึ่งอาจใช้เก็บจากห้องที่เป็นที่เกิดนางพญาผึ้งตัวใหม่ ซึ่งมีขนาดใหญ่ลงยาผิดจากห้องอื่น เก็บไว้แยกไข่ผึ้งออก ของนมผึ้งไว้ใช้ การใช้นมผึ้งเป็นยาต้องผสมให้เจือจางก่อน เช่น ผสมกับน้ำผึ้งก่อน และต้องเก็บไว้ในที่เย็นและไม่ถูกแสง เพื่อให้เก็บได้นานขึ้น เพราะน้องพึ่งเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ในอุณหภูมิห้อง นมผึ้งจะเปลี่ยนจากของเหลวข้นสีขาว เป็นสีเหลืองอย่างช้าๆ และจะเปลี่ยนเป็นของแข็งสีเหลืองเข้ม หลังจากเก็บไว้หลายสัปดาห์ นมผึ้งใหม่ๆมีรสหวานปร่า เม่อเก็บไว้รสจะเปรี้ยวขึ้นเรื่อยๆ นมผึ้งมีรสเปรี้ยว สุขุม มีสรรพคุณบำรุงร่างกาย โดยเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยฟื้นไข้ เด็กขาดสารอาหาร แก้โรคตับอักเสบ แก้โรคความดันโลหิตสูง แก้ปวดข้อ และแก้แผลที่ลำไส้เล็ก

๓.เกสรผึ้ง (bee pollen) เป็นเกสร ตัวผู้ของดอกไม้นานาชนิด ที่ผสมอยู่ในน้ำผึ้ง ซึ่งติดมากับขาหลังของผึ้งงานขณะดูดกินน้ำหวานจากดอกไม้เกสรผึ้งนี้ มีองค์ประกอบที่เป็นสารอาหารหลายอย่างที่พบในปริมาณสูงมีกรดอะมิโน กรดไขมัน เกลือแร่ชนิดต่างๆ เช่น เหล็ก สังกะสี ทองแดง วิตามิน ชนิดต่างๆ เช่น วิตามินดี วิตามินอี วิตามินบี๑ วิตามินซี วิตามินเค

๔.กาวชันผึ้ง (Bee propolis) มีลักษณะเหนียวข้น มีกลิ่นหอมอ่อนๆ เป็นชันหรือยางจากเปลือกไม้ของพืชหลายชนิด ที่เพิ่งเอามาผสมกับขี้ผึ้งเพื่อทำรัง หรือซ่อมแซมรัง โดยเฉพาะใช้อุดรอยหรือยารูรั่วต่างๆของรวง กาวชันผึ้งนี้มีสารที่เป็นองค์ประกอบหลายอย่าง ที่สำคัญ มีสารกาลาจีน (galagin) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื่อสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoid) และไอโซฟลาโวนอยด์ (isoflavonoid) หลายชนิด โดยเฉพาะสารที่แสดงฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิง(phytoestrogen) ตลอดจนสารอื่นอื่นอีกหลายชนิด นอกจากผลิตภัณฑ์ที่ได้จากรวงผึ้งแล้ว มนุษย์อย่างรู้จักใช้น้ำพิษผึ้ง ( Bee Venom) ในการบำบัดโรคแต่โบราณ น้ำผึ้งเป็นน้ำพิษจากเหล็กในของผึ้งงาน ที่ปล่อยออกมาเมื่อผึ้งผึ้งต่อย มีลักษณะใสมันน้ำ มีรสขมจัด มีกลิ่นหอมเหมือนกล้วยสุก ละลายได้ในน้ำและในกรด ไม่ละลายในอัลกอฮอล์ ทนความร้อนและความเย็นได้ดี องค์ประกอบเคมีเป็นสารพวกเพปไทด์(peptide)

น้ำพิษผึ้งใช้แก้ข้ออักเสบ (arthritis) และลมจับโปง (rheumatism) แก้หอบหืดเป็นต้นน้ําเพชรผึ้งใช้แก้ข้ออักเสบและแก้จะโปรงแก้หอบหืด เป็นต้น การใช้น้ำผึ้งบำบัดโรคทำโดยอาจใช้ผึ้งต่อยบริเวณที่มีอาการโดยตรง หรือเก็บน้ำผึ้งเอามาเตรียมเป็นยาฉีด การเก็บน้ำผึ้งอาจทำโดยให้ผึ้งงานบ อินผ่านเส้นลวดที่มีกระแสไฟฟ้าไม่สูงนัก ผึ้งจะตกใจและต่อย แล้วจะปล่อยน้ำพิษออกมา โดยผู้เก็บน้ำพิษจะเอาสำลีไปรองรับไว้

รุปภาพจาก:matichon.co.th,eyahoo.com,komchadluek.net,aliexpress.com