น้ำดอกไม้

น้ำดอกไม้

น้ำดอกไม้ ที่ใช้เป็นน้ำกระสายยานี้ เป็นน้ำที่อบด้วยดอกไม้หอม อาจได้จากดอกไม้หอมนานาชนิด แต่ที่นิยมใช้มีดอกมะลิ อันได้จากพืชที่มี
ชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Jusminum sambac Ait.
ในวงศ์ Oleaceae

และดอกกระดังงา อันได้จากพืชที่มี
ชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Cananga odorata Hook. f.&Th.
ในวงศ์ Annonaceae

โบราณเตรียมน้ำดอกไม้โดยการต้มน้ำให้เดือด แล้วเอามาใส่ในภาชนะ ปิดทิ้งไว้ให้เย็น แล้วเอาดอกมะลิหรือดอกกระดังงาใส่ภาชนะเล็กๆ ลอยไว้เหนือน้ำ ปิดภาชนะที่ใส่น้ำน้ำทิ้งไว้ค้างคืน น้ำนั้นจะดูดกลิ่นหอมไว้ ได้น้ำที่มีกลิ่นหอม เรียก น้ำดอกไม้ หรือบางตำราเรียก น้ำดอกไม้ไทย

สรรพคุณหลักๆ ของดอกไม้หอมในพิกัดเกสร (การจัดเกสรดอกไม้หลายๆอย่าง ที่มีสรรพคุณคล้ายกัน มารวมกันเป็นกลุ่มโดยใช้ปริมาณอย่างละเท่าเท่ากัน)รวมทั้งดอกมะลิและดอกกระดังงา คือ แก้ลม บำรุงหัวใจ น้ำดอกไม้จึงใช้เป็นน้ำกระสายยามาก ทั้งที่ใช้เพื่อเป็นยาเม็ดลูกกลอนหรือยาแท่งและใช้ละลายยาให้กินยาได้ง่ายขึ้น ทั้งยังเสริมฤทธิ์ของยาหลักได้อีกด้วย

ในตำราพระโอสถพระนารายณ์ ระบุให้ใช้น้ำดอกไม้เป็นกระสายในยาขณะที่ ๓๓ ,๓๔,๓๗ (ยาหอมดุม) และ ๓๘( มโหสถธิจันทน์) ตัวอย่างเช่น “ยาหอมดุม” ระบุให้ใช้น้ำดอกไม้เป็นกระสาย บดแล้วปั้นเป็นยาแท่ง แล้วใช้น้ำซาวข้าวหรือน้ำดอกไม้ เป็นน้ำกระสายยาเติมพิมเสนลงไปเล็กน้อย ทั้งกินทั้งชโลม เพื่อ “แก้ไข้สันนิบาตอันมีกำลังมาก”

    มะลิ เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยสูง ๑-๒ เมตร ใบออกตรงกันข้าม รูปไข่ ขนาดกว้าง ๓.๕-๔.๕ cm ยาว ๕-๗ เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ก้านใบสั้น ดอกไม้สีขาว กลิ่นหอมแรง ออกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงเป็นเส้น ๘-๑๐ เส้น กลีบดอกเป็นหลอดยาว ๑-๒ เซนติเมตร ปลายแยกเป็น ๕-๘ กลีบ เมื่อบานเต็มที่จะโตว่าถนัดค่าส่วนกลางได้ ๒-๓ เซนติเมตร

เกสรเพศผู้มี ๒ อัน ดอกออกตลอดทั้งปี แต่จะดกช่วงฤดูร้อนและฤดูฝ ถ้ากลีบดอกมีชั้นเดียว เรีย มะลิลา ถ้ากลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น เรียก มะลิซ้อน ดอกมะลิที่ใช้ในยาไทยเป็นมะลิลา ฝรั่งเรียกดอกมะลิว่า jusmine หรือ Arabian jusmine ตำราสรรพคุณยาโบราณว่าดอกมะลิมีกลิ่นหอมเย็นรสขม

มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงหัวใจ ดับพิษร้อน ทำให้จิตใจชุ่มชื่น บำรุงครรภ์ แก้ร้อนในกระหายน้ำ โบราณจัดเข้าเครื่องยาพิกัดเกสรทั้ง ๕ ดอกมะลิ ดอกพิกุล ดอกบุนนาค ดอกสารภี และเกสรบัวหลวง เกสรทั้ง ๗ ( เกสรทั้ง ๕ เพิ่มดอกจำปาและดอกกระดังงา) และเกสรทั้ง ๙ (เกสรทั้ง ๗ เพิ่มดอกลำดวน และดอกลำเจียก) หรือใช้อบน้ำให้หอม (ทำน้ำดอกไม้ไทย) หรือใช้ผสมกับดอกไม้ชนิดอื่นๆ ที่มีกลิ่นหอมเพื่อทำบุหงา นอกจากน้ำตำราอย่างว่าใบมะลิสดมีรสเย็นฝาดเย็น แพทย์ตามชนบทใช้ใบสดตำกับกากมะพร้าวก้นกะลา

พอกหรือทาแก้แผลพุพอง แก้แผลเรื้อรัง ยังว่าใช้สอดใช้ยอด ๓ ยอด ตำพอกหรือทา เพื่อลบรอยแผลเป็นได้ดี รากมะลิมีรสเย็นเมา ฝนหรือต้มดื่มแก้ปวด ปวดหัว แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้หลอดลมอักเสบ ใช้มาก(ราว ๑-๒ ข้อนิ้วมือ) ทำให้สลบ ตำพอกหรือทาแก้เคล็ดขัดยอก จากการกระทบกระแทก ดอกมะลิที่ใช้ทำน้ำดอกไม้นั้น จะเก็บตอนเย็น โดยเลือกเก็บเฉพาะดอกตูมที่กำลังจะบาน โดยทั่วไปดอกมะลิจะบานตอนกลางคืน บานเต็มที่ในราวตี ๒ กระดังงาเป็นไม้ยืนต้นสูง ๘-๑๕ เมตร จึงลู่ลม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับกัน รูปรี มีขนาดกว้าง ๔-๙ เซนติเมตร ยาว ๗-๑๒ เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ดอกมีสีเหลืองอ่อนหรือสีเหลืองอมเขียว ออกเป็นกลุ่มตามกิ่ง ๔-๖ ดอก กลิ่นหอมแรง กลีบดอกอ่อนนุ่ม เรียวยาว และบิดมี ๖ กลีบ เกสรเพศผู้และรังไข่มีจำนวนมาก ผลเป็นกลุ่มต้น กระดังงามีชื่อสามัญว่า Perfume Tree ดอกกระดังงามีชื่อสามัญว่า ylang – ylang (เป็นภาษาตากาล็อกของฟิลิปปินส์ อ่านว่า อีลัง-อีลัง) เมื่อกลั่นดอกกระดังงาด้วยไอน้ำจะได้น้ำมันระเหยง่าย

เรียกน้ำมัน ดอกกระดังงา ( ylang-ylang oil ) พืชชนิดนี้ทางภาคกลางเรียกว่า กระดังงาไทย กระดังงาใบใหญ่ กระดังงาใหญ่ หรือทางพายัพเรียก สะบันงา หรือสะบันงาต้น ตำราสรรพคุณยาโบราณว่าดอกกระดังงามีกลิ่นหอมเย็น

ใช้บำรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียน ชูกำลังทำให้หัวใจชุ่มชื่น แก้อ่อนเพลีย กระหายน้ำ โบราณจัดเข้าเครื่องยาพิกัดเกสรทั้งเจ็ดและเกสรทั้งเก้า ใช้อบน้ำให้หอม (ทำน้ำดอกไม้ไทย) หรือใช้ผสมกับดอกไม้ชนิดอื่นอื่นๆที่มีกลิ่นหอมเพื่อทำบุหงา นอกจากนั้น แพทย์ตามชนบทใช้ใบและเนื้อไม้ต้องเป็นยาขับปัสสาวะดอกกระดังงาที่จะนำมาใช้ทำน้ำดอกไม้นั้น มักลนไฟเสียก่อน เนื่องจากจะทำให้กลิ่นแรงกว่า เหมือนที่โบราณว่า “กระดังงา ตำราไทยไม่ลนไฟเสียก่อน ก็หย่อนหอม”คำ “น้ำดอกไม้” อาจเป็นชื่อเรียกชมพู่ชนิดหนึ่ง มะม่วงพันธุ์หนึ่ง หรือปลาพวกหนึ่ง ดังนี้

รูปภาพจาก:khaosod.com,networkherbs.com