สมุนไพรแมงลัก

สมุนไพรแมงลัก 

ชื่อพื้นเมืองอื่น ก้อมก้อขาว (ภาคเหนือ) แมงลัก , มังลัก (ภาคกลาง);อีตู่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum americanum L. Ocimum canum Sims
ชื่อวงศ์   LABIATAE
ชื่อสามัญ  Hoary basil.

 ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ 

ไม้ล้มลุก (ExH) ขนานดเล็ก สูงประมาณ 30-120 ซม. โคนลำต้นแข็ง แตกกิ่งก้านสาขามาก สีเขียวออกขาวเล็กน้อย กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม และตามข้อมีขนสีขาวปกคลุม ใบ เป็นใบเดี่ยว แตกใบออกแบบตรงข้าม ลักษณะใบรูปไข่ โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นจักใบเลื่อย แผ่นใบสีเขียวตามขอบใบและเส้นใบมีขนระเอียดปกคลุม ก้านใบยาวประมาณ 1-2.5 ซม. มีขนปกคลุมเช่นกัน  ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อฉัตร ออกช่อบริเวณยอดหรือปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาวและมีขนสีขาว กลีบรองกลีบดอกสีเขียวเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูประฆัง กลีบดอกมีสีขาว เชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายกลีบแยกเป็นปากมีหยีกมนๆ 4 หยัก มีขนระเอียด สีขาวปกคลุม เป็นดอกแบบสมมาตรด้านข้าง ดอกจะเรียงรอบก้านช่อเป็นชั้นๆ ชั้นละ 2 ช่อ ผล เมื่อกลีบดอกร่วงก็จะเป็นผล ผลมีขนาดเล็ก เปลือกแข็ง เมล็ดเดียว ลักษณะรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ผิวค่อนข้างเรียบ สีน้ำตาลเข้ม ภายในผลมีเมล็ด 4 เมล็ด เมื่อนำไปแช่น้ำจะเกิดวุ้นหุ้มรอบๆเมล็ด
นิเวศวิทยา ได้ทั่วไปในที่โล่งแจ้ง ทนแสงแดดได้ดี ปลูกขายเป็นผักเพื่อใช้แต่งกลิ่นและรส หรือปลูกเพื่อขายเมล็ดใช้เป็นอาหารและยา
การปลูกและขยายพันธ์ุ   เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนทั่วไป ทนต่อแสงแดดได้ดี ขยายพันธ์ุด้วยการเพาะเมล็ด

ส่วนที่ใช้ รส และสรรพคุณ  ลำต้น รสร้อน แก้ไข้ ขับลม ขับเหงื่อ และโรคทางเดินอาหาร ใบ รสหอมร้อน ขับลม ขับเหงื่อ แก้ไอและโรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้ปวดฟัน แก้หวัดในเด็ก แก้หลอดลมอักเสบ แก้ท้องร่วง แก้โรคผิวหนัง เมล็ด รสหอมร้อน เป็นยาระบาย ช่วยเร่งการขับถ่าย เป็นยาลดความอ้วน ยาบำรุง ขับปัสสาวะ

วิธีใช้และปริมาณที่ใช้
1. เป็นยาระบาย โดยใช้เมล็ดแมงลัก 1-2 ช้อนชา ล้างน้ำให้สะอาด แช่น้ำอุ่น 1 แก้ว หรือประมาณ 250 มิลลิลิตร จนพองตัวเต็มที่รับประทานก่อนนอน
ซึ่งเมล็ดแมงลักจะทำให้มีจำนวครั้งในการถ่ายอุจจาระเพิ่่มขึ้น และทำให้อุจจาระอ่อนตัวกว่าปกติ ถ้าเมล็ดแมงลักพองตัวไม่เต็มที่ จะมำให้ท้องอืด และอุจจาระแข็ง          
2. ขับลม ลดอาการจุกเสียด แน่นท้อง แก้ท้องอืดเฟ้อ โดยใช้ใบสดรับประทานเป็นเครื่องเคียงอาหาร
3. ลดความอ้วน โดยใช้เมล็ด 1-2 ช้อนชา ผสมน้ำ 300-500 ซีซี รับประทานก่อนอาหาร เนื่องจากเมล็ดแมงลักมีสารเมือกซึ่งไม่ย่อย และไม่ถูกดูดซึ่มเข้าร่างกาย ดังนั้นการรับประทานก่อนอาหารจะทำให้กระเพาะไม่ว่างและรู้สึกอิ่ม

ข้อควรทราบ
*เวลาใช้เมล็ดแมงลักจะต้องใช้น้ำในปริมาณที่มากพอ เพื่อให้เมล็ดพองตัวได้เต็มที่ เพราะถ้าเมล็ดยังพองตัวไม่เต็มที่ เมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว เมล็ดแมงลักจะเข้าไปดูดน้ำในกระเพาะและลำไส้ จึงทำให้เกิดการอุดตันและแข็ง ซึ่งจะส่งผลให้ท้องผูกได้

รูปภาพจาก:prayod.com,kapook.com,สมุนไพร