สมุนไพรคำฝอย

สมุนไพรคำฝอย

ชื่อพื้นเมืองอื่น  ดอกคำฝอย (ภาคเหนือ) คำยอง (ลำปาง) คำ (ทั่วไป)
ชื่อวิทยาศาสตร์  Carthamus tinctorius L.
ชื่อวงศ์  COMPOSITAE
ชื่อสามัญ False saffron , Safflower , Saffron thistle.

 

ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์

ไม้ล้มลุก (ExH) -> มีอายุราว 1 ปี สูงประมาณ 1-1.5 เมตร ลักษณะลำต้นเป็นสัน ผิวเกลี้ยง
ใบ -> เป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบรูปหอกแกมขอบขนาน ก้านใบสั้น ปลายใบแหลม ขอบใบมีหนามหยักเป็นซี่ฟัน กว้าง 2-4 ซม. ยาวประมาณ 3-15 ซม. เส้นแขนงใบมองเห็นชัดเจน
ดอก -> เป็นกระจุกที่ปลายลำต้น ก้านดอกใหญ่ ผิวเกลี้ยง กลีบดอกตอนแรกเหลือง เปลี่ยนเป็นสีส้มอมแดงเมื่อแห้ง
ผล -> ผลแห้ง ลักษณะเป็นรูปไข่กลับเบี้ยว ยาวประมาณ 5-8 ซม. มีสีขาวเหมือนงวงช้าง ตรงปลายตัดมีสันอยู่ 4 สัน และมีรยางค์ยาว 5 ซม. รวมทั้งมีเกล็ดด้วย

 

นิเวศวิทยา

มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย สำหรับประเทศไทยได้นำมาปลูกในภาคเหนือ

 

การปลูกและขยายพันธุ์

เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย  ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

 

ส่วนที่ใช้ รส และสรรพคุณ

ดอก -> รสหวานร้อน ใช้เป็นยาระบาย ขับเหงื่อ ระงับประสาท บำรุงเลือด ขับระดู รักษาอาการบวม แก้ไข้หลังคลอดบุตร รักษาแผลพุพอง ระงับอาการปวดในสตรีที่มีรอบเดือนมาไม่ปกติ เป็นยาบำรุงสำหรับคนที่เป็นอัมพาต ใช้ลดความอ้วนและไขมันในเส้นเลือด

เกสร  -> รสหวานร้อน บำรุงโลหิตและน้ำเหลืองให้ปกติ แก้แสบร้อนตามผิวหนัง
เมล็ด -> รสหวานร้อน เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ ลดการอักเสบหลังการคลอดบุตร น้ำมันเมล็ดคำฝอย รักษาอาการปวดเมื่อยในโรคไขข้ออักเสบ รักษาแผล ทาแก้อัมพาต     ดอกแก่ รสหวานร้อน ใช้แต่งสีอาหารให้มีสีเหลืองส้มในอาหารโดยสาร carthamin ในกลีบดอก และใช้ย้อมผ้าได้

 

วิธีใช้และปริมาณที่ใช้

1. ขับประจำเดือน บำรุงหัวใจ โดยใช้ดอกแห้ง 5 กรัม ชงเป็นน้ำชาดื่มก่อนอาหาร เช้า-เย็น เป็นประจำทุกวัน
2. ลดไขมันในเลือด และแก้ปวดเมื่อย โดยใช้น้ำมันจากเมล็ดใช้ปรุงเป็นอาหาร และทาแก้ปวดเมื่อย ไขข้ออักเสบ และอัมพาต เป็นประจำ

 

ข้อควรทราบ

  • น้ำมันที่่ใช้ในการปรุงอาหารและทานวด ต้องเป็นน้ำมันที่่สกัดโดยไม่ใช้ความร้อน

  • ส่วนน้ำมันที่สกัดโดยใช้ความร้อน จะใช้เคลือบหนังไม้ให้เปียกน้ำ และใช้ผสมสีทาบ้านเรือน

  • สารสกัดจากดอกคำฝอยโดยใช้แอลกอฮอล์ สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียและยับยั้งเชื้อไวรัสได้

 

รูปภาพจาก:doctoroz.com,takenrayong.blogspot.com,สมุนไพร