สมุนไพรชะมวง

สมุนไพรชะมวง

ชะมวง Garcinia cowa Roxb.
บางถิ่นเรียก ชะมวง (ภาคกลาง) กะมวง (ภาคใต้) มวงส้ม (นครศรีธรรมราช) หมากโมก (อุดรธานี)

ไม้ต้น -> สูงไม่เกิน 20 ม. ไม่ผลัดใบ ทุกส่วนเกลี้ยง เปลือกสีน้ำตาลอมเทา ค่อนข้างเรียบ
ใบ -> เดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรี รูปใบหอก หรือ ใบหอกกว้าง กว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 8-13 มม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนา เส้นใบมองเห็นไม่ชัด ก้านใบยาว 8-13 มม.
ดอก -> สีเหลือง ค่อนข้างเล็ก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้มักจะออกตามกิ่งเป็นกระจุก กระจุกละ 3-8 ดอก ดอกบานกว้าง 10-13 มม. ก้านดอกใหญ่และสั้นประมาณ 6 มม. กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ รูปไข่กว้าง กลีบดอกมี 4 กลีบ ยาวพอ ๆ กับกลีบเลี้ยง สีเหลืองด้านในสีชมพู หรือ สีแดงอมม่วง เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ก้านเกสรสั้นมากติดกันเป็นกลุ่ม รูปสี่เหลี่ยมอยู่ตรงกลางดอก ดอกเพศเมียมี 2-5 ดอก ออกตามปลายกิ่ง กลีบดอกคล้ายดอกเพศผู้ แต่กลีบดอกยาวกว่า ดอกบานกว้าง 12-15 มม. เกสรเพศผู้เทียมเรียงรอบ ๆ รังไข่ ก้านเกสรติดกันเป็นกลุ่ม ๆ ปลายก้านมีต่อม 1 ต่อม รังไข่กลม ไม่มีก้าน ยอดเกสรเป็นรูปดาว 6-8 แฉก
ผล -> กลมหรือรูปขอบขนาน กว้าง 2-4 ซม. ยาว 2.5-5 ซม. มี 5-8 พู ด้านบนแบนเล็กน้อย และมียอดเกสรเพศเมียติดอยู่ ผิวสีเหลืองอมส้ม เนื้อและเยื่อหุ้มเมล็ดสีส้มอ่อน เมล็ดรูปขอบขนาน ยาว 13-20 มม.


นิเวศน์วิทยา

ขึ้นในป่าดิบและมีปลูกทั่วไปทางภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้


สรรพคุณ

ราก -> ปรุงเป็นยาถอนพิษไข้ แก้บิด
ต้น -> ให้ยางใส (resin) ที่ใช้ทางยาได้ ให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้า
ใบ  -> ใช้ปรุงเป็นยากัดฟอกเสมหะและโลหิต แก้ไอ ใบอ่อนกินได้ มีรสเปรี้ยว
ผล  -> หั่นเป็นแว่นตากแห้ง ใช้กินเป็นยาแก้บิด

 

รูปภาพจาก:pantip.com,bewbestfood.blogspot.com,สมุนไพร