น้ำซาวข้าว

น้ำซาวข้าว

น้ำซาวข้าว ที่รู้จักกันในปัจจุบันนั้นในตำราพระโอสถพระนารายณ์เขียนเป็น “น้ำซาวเข้า” เป็นน้ำที่ได้จากการล้างข้าวสารโดยน้ำฝนหรือน้ำสะอาด อีสานเรียก น้ำมวก (ทางอีสานใช้สระผมได้) ข้าวสารนี้เป็นผลที่สีเอาเปลือกออกแล้วของต้นข้าว
อันมีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Oryza sativa L.
จัดอยู่ในวงศ์ Gramineae

ตำราสรรพคุณยาโบราณของไทยว่าน้ำซาวข้าวมีรสเย็น มีสรรพคุณถอนพิษสำแดง แก้พิษร้อนภายใน ดับพิษอักเสบและฟกบวม ดังนั้นถ้าใช้เป็นน้ำกระสายยามักใช้กับยาแก้ไข้ เพราะนอกจากจะช่วยละลายอย่าให้สินง่ายขึ้นแล้ว ยังช่วยเสริมฤทธิ์ลดไข้ของยาในตำรับได้อีกด้วย ในตำราพระโอสถพระนารายณ์ระบุให้ใช้น้ำซาวข้าวเป็นน้ำกระสายยาในขนาดที่ ๓๗ “ยาหอมดุม” และขณะที่ ๓๘ “มโหสถธิจันทน์” ในที่นี้จะขอยกตัวอย่าง “ยาหอมดุม” ที่ระบุให้ใช้น้ำดอกไม้หรือน้ำซาวข้าวเป็นน้ำกระสายยาก็ได้ ดังนี้

  • ยาหอมดุม ให้เอาแก่นมะทราง แก่นมะทราง เปลือกไข่เน่า ชเอมเทศ กรักขี จันทน์แดง จันทน์ขาวดอกพิกุล ดอกบุนนาค ดอกสารภี เกสรบัวน้ำ เสมอภาค ทำเป็นจุณ น้ำดอกไม้เป็นกระสาย บดทำแท่ง ละลายน้ำดอกไม้ น้ำซาวเข้าก็ได้ รำหัดพิมเสนลง ทั้งกินทั้งชโลม แก้ไข้สันนิบาตอันมีกำลังมาก หายแลฯ

คำ”ข้าว” เสียงยาว ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โบราณเคยใช้ “เข้า” เสียงสั้น เพิ่งจะมาเปลี่ยนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อย่างไรก็ตามแบบเดิม แม้ปัจจุบันเขียนเป็น “ข้าว”แต่คนไทยส่วนใหญ่ยังคงอ่านด้วยเสียงสั้นเป็น “เข้า” แบบเดิม โดยเฉพาะในภาษาไทยถิ่นต่างๆ ผู้เขียนจึงจะเห็นว่าหน้าเขียนคำนี้แบบโบราณ เพราะจะตรงกับเสียงอ่านหรือพูดมากกว่า เช่น เข้าสาร เข้าเปลือก เข้าจ้าว เข้าเหนียว เข้าโพด

คำ “เข้าเปลือก” ภาษาอังกฤษใช้ paddy ตามภาษาแขกมาลายู ปาดี ในคำสุไหงปาดี (สุไหง แปลว่า ลำคลองขนาดเล็กกว่าแม่น้ำ) เป็นต้น และเรียก “นาข้าว” ว่า paddy field ข้าวสาร (rice)เป็นข้าวเปลือกที่สีเอาเปลือกออกแล้ว

ข้าวเป็นธัญพืชที่สำคัญอย่างหนึ่งของโลก ประชากรโลกไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ กินข้าวเป็นอาหารหลักสำหรับคนไทยนั้นถ้าเป็นรากฐานสำคัญของวิถีชีวิตมาแต่โบราณข้าวเป็นพืชกลุ่มที่มีหลักฐานว่ามนุษย์รู้จักโรคและกินมาแต่สมัยดึกดำบรรพ์นักวิชาการเชื่อว่าข้าวเป็นพืชพื้นเมืองของอินเดียคือบริเวณเอเชียอาคเนย์ ปัจจุบันแหล่งผลิตข้าวส่วนใหญ่ของโลกยังอยู่ในทวีปเอเชียและยุโรปเพิ่งเริ่มปลูกข้าวกันอย่างจริงจังเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓ ส่วนอเมริกานั้นเพิ่งเริ่มปลูกเมื่อปรารถศตวรรษที่ ๒๕ คือต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๖ มิข้าวที่ปลูกในประเทศไทยอาจแบ่งได้ ๓ ประเภทตามสภาวะน้ำที่ต้องการใช้ในการเจริญเติบโตคือ
๑.ข้าวไร่ เป็นข้าวที่ไม่ต้องการน้ำในการเจริญเติบโตแต่ยังต้องการ ความชุ่มชื่นของพื้นดินเช่นพืชได้ทั่วไปมักจะตายเมื่อมีน้ำขังอยู่นานจึงนิยมปลูกตามที่สูงหรือตามไหล่เขาในภาคเหนือหรือภาคอีสานและมะกรูดเพื่อให้พอกินพอใช้เท่านั้น การทำงานใช้วิธีหว่านหรือหยอดหลุม
๒. ข้าวนาสวน เป็นข้าวที่ต้องการน้ำหล่อเลี้ยงในการเจริญเติบโตแต่ทนความลึกของน้ำได้ไม่เกิน 1 เมตรเป็นข้าวที่ปลูกกันเป็นส่วนใหญ่เราร้อยละ 80 ของข้าวที่ปลูกในประเทศไทย ส่วนมากการทำนาจะใช้วิธีดำ
๓. ข้าวนาเมือง เป็นข้าวพันธุ์พิเศษ ที่ขึ้นได้ในน้ำลึกกว่า ๑ เมตรขึ้นไป

เรียกข้าวขึ้นน้ำ หรือข้าวลอย หรือข้าวฟ่างลอย เป็นพันธุ์ที่มีลำต้นยาวและทอดออกไปแตกแขนงตามข้อและออกรากสามข้อได้ลำต้นโตเร็วกว่า ข้าวพันธุ์นาสวน จึงถูกตามที่ลูกมากทางภาคกลางที่ปลูกข้าวนาสวนไม่ได้เช่นในบางพื้นที่ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาพิจิตรสุพรรณบุรีอ่างทองลพบุรีการทำนาแบบนี้ใช้วิธีวานมากได้ข้าวที่มีคุณภาพต่ำทั้งข้าวไร่ข้าวนาสวนและข้าวหน้าเมือง แบ่งออกเป็น ๒ ชนิดตามคุณสมบัติของเมล็ดเป็นข้าวเจ้าข้าวเหนียวข้าวเจ้าเป็นข้าวที่มีเมล็ดใสเมื่อหงษ์แล้วเมล็ดจะร้อนและสวยไม่ติดกันส่วนข้าวเหนียวเนื้อเมล็ดจะคุ้มกว่าเขาเจ้าเมืองโอ่งหรือนึ่งแล้วเมล็ดจะเหนียวติดกันที่เป็นเช่นนี้เพราะโครงสร้างทางเคมีของแป้งในข้าวเจ้าและข้าวเหนียวแตกต่างกันโดยทั่วไปต้นข้าวจะมีอายุราว ๑๒๐ วัน ถึงจุดเสียวได้ข้าวที่สุกก่อนในท้องถิ่นคือมีอายุราว ๙๐-๑๒๐ วันเรียกเข้าเบาที่สุดช้ากว่าปกติคือโรคข้าวจะสุกเมื่อต้นมีอายุ ๑๘๐-๒๑๐ วัน เรียกเข้าหนักส่วนพวกที่อยู่กลางกลางคืนรวงข้าวจะสุกเมื่อต้นมีอายุ ๑๒๐-๑๘๐วันเรียกเข้ากลาง รำข้าวได้จากการสีข้าวเปลือกเพื่อเอาเปลือกหุ้มเมล็ดออกมีวิตามินดีอยู่มากช่วยบำบัดโรคเหน็บชาได้เมล็ดข้าวอ่อนที่เรียกเข้าน้ำนมตำคั้นเอาน้ำผสมน้ำนมวัว

ปรุงใส่ใบเตยหอมกับน้ำตาลทรายขาว ได้ข้าวกระยาคู กินเป็นอาหารชูกำลังแก้อ่อนเพลีย สำหรับคนไข้ที่เพิ่งฟื้นไข้ใหม่ๆส่วนข้าวสารนั้นชาวบ้านตามชนบทใช้ตามประสงค์กับสุราทาแก้ลมพิษ แก้คันได้ดี

ข้าวที่เรียกข้าวเหนียวนั้นเพราะเมื่อหงษ์แล้วมาร์เกินอยู่ติดกันเด้อเป็นข้าวที่บริโภคการทั่วไปมาแต่โบราณกินแล้วอิ่มได้นานส่วนข้าวที่เรียกเข้าเจ้านั้นเพราะสมัยโบราณเป็นข้า ข้าวพันธุ์ที่ปลูกเฉพาะสำหรับเจ้าแผ่นดินและพระบรมวงศานุวงศ์และต้องปลูกในนาหลวงเท่านั้น

รูปภาพจาก:khaozaza.com,goosiam.com,lnwshop.com