นกยูง

นกยูง

นกยุง

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pavo muticus Linnaeus
จัดอยู่ในวงศ์ Prasianidae
มีชื่อสามัญว่า Burmese peafowl หรือ green peafowl
ในประเทศไทยพบ ๒ ชนิดย่อย คือ นกยูงใต้ (Pavo muticus muticus Linnaeus) พบทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป และนกยูงเหนือ (Pavo muticus imperator Delacour) ซึ่งพบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก นกยูงใต้มีขนาดเล็กกว่านกยูงเหนือ หนังบริเวณหูและแก้มของนกยูงใต้มีสีเหลืองสดกว่า

 

ชีววิทยาของนกยูง

นกยุงเป็นนกจำพวกไก่ฟ้าขนาดใหญ่ ความยาวของตัววัดจากปลายปากถึงปลายหางราว ๑๒๐ – ๒๑๐ เซนติเมตร ตัวผู้มีหงอนเป็นพู่สูง และมีแผ่นหนังที่หน้าสีฟ้าสลับกับสีเหลืองเห็นได้ชัด ขนตามตัวมีสีเขียวเป็นประกายแววเหลือบสีน้ำเงินบนปีกและสีทองแดงทางด้านข้างลำตัว ดูเป็นลายเกล็ดแพรวพราวไปทั้งตัว ขนปีกบินสีน้ำตาลแดง ขนคลุมโคนหางมีสีเขียวยื่นยาวออกมา มีดวงกลมที่แต้มด้วยสีฟ้าและสีน้ำเงิน(ดวงกลมนี้ทางยาเรียกว่า แววนกยูง)  ส่วนตัวเมียมีลักษณะคล้ายตัวผู้ แต่ขนมีสีเหลือบเขียวน้อยกว่า และมีประสีน้ำตาลเหลืองอยู่ทั่วไป ขนคลุมโคนหางไม่ยื่นยาวเหมือนตัวผู้ นกชนิดนี้ออกหากินตามหาดทรายและสันทรายริมลำธารในช่วงเช้าตรู่ถึงบ่าย กินเมล็ดพืชและสัตว์เล็กๆเป็นอาหาร แล้วบินกลับไปเกาะบนยอดไม้สูงๆ ตามปรกติอยู่เป็นฝูงเล็กๆ ๒ – ๑๐ ตัว และผสมพันธุ์ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน ขนคลุมโคนหางของตัวผู้จะเจริญเต็มที่ในเดือนตุลาคม และจะผลัดขนนั้นในราวเดือนกุมภาพันธ์ ทำรังที่กอต้นกกหรือกอต้นอ้อริมลำธาร วางไข่สีขาว ๒ – ๕ ฟอง
นกยูงชอบอาศัยตามริมลำธารในป่าดิบแล้งและป่าผลัดใบผสม มีเขตการแพร่กระจายจากภาคเหนือจากภาคเหนืออินเดียไปทางตะวันออก ผ่านพม่า ตอนใต้ของจีน ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย และชวา เคยพบมาทั่วประเทศที่ระดับความสูงต่ำกว่า ๙๐๐ เมตร  ยกเว้นบริเวณที่ราบสูงภาคกลาง  แต่ปัจจุบันจำนวนประชากรนกยูงลดลงจนอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ไปธรรมชาติ  รัฐบาลประกาศให้นกยูงเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ ๑ นกยูงอีกชนิดหนึ่งคือนอกยูงอินเดีย  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Pavocristatus  Linnaeus  นกยูงอินเดียเป็นสีน้ำเงิน และขนที่หงอนบนหัวแผ่เป็นรูปพัด

 

ประโยชน์ทางยา

แพทย์แผนไทยรู้จัก ใช้แววนกยูงและดีนกยูงเป็นยา ดังที่มีบันทึกไว้ใน พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์ ๓ ขนาน ดังนี้
๑.แววนกยูง เอามาปิ้งไฟให้เหลืองกรอบก่อน แล้วจึงใช้เป็นเครื่องยา เช่น ที่ใช้ใน “ยากวาดเจีนรไนเพชร์”ขนานหนึ่ง และ “ยากวาดทรางสกอทรางกระตัง” อีกขนานหนึ่ง ดังนี้ ยากวาดชื่อเจีรไนเพ็ชร์ ขนานนี้ ท่านให้เอา มูลแมลงสาบคั่วรากดินคั่วหนังกระเบนเผาน้ำประสานทองสะตุแววนกยูงเผาศีร์ษะงูเห่ากระดองปูทะเลกระดองปูนากระตังมูตรเปลือกไข่ฟัก ลิ้นทะเล ๑  ผลเบญกานี กำมะถันแดงเบี้ยผู้เผาหมึกหอมชาดก้อน ๑ ชะมดเชียง ๑ อำพันทองทองคำเปลว ๑๐ แผ่น ๑ รวมยา ๑๙ สิ่งนี้เอาเสมอภาค ทำเป็นจุณ บดปั้นแท่งไว้ ละลายน้ำมะนาวกวาดทรางกะแหนะ หายวิเศษนักและ ยากวาดทรางสกอทรางกระตัง  ขนานนี้  ท่านให้เอา  แววนกยูงเผาหางปลาช่อนเผามูลแมลงสาบเผาหัวตะใคร้เปลือกแมงดาตรีกฏุกหญ้ายองไฟดินประสิวขาวเกลือสินเธาว์ ๑ ดอกผักคราด ๑ กระเทียม บดปั้นแท่งไว้กวาดทรางสกอทรางกระตังหายดีนัก ยาบางขนานอาจใช้ “หางนกยูงเผา” หากตำราระบุเช่นนั้น  ให้หมายถึง “ขนหางนกยูงเพศผู้” ที่มี “ แวว” อยู่ด้วย เช่น  “ยากวาดแก้ทรางโจรทรางเพลิง”  ขนานหนึ่งในพระคัมภีร์ปฐมจินดาร์ เช่นกัน  ดังนี้ ขนานหนึ่งเอา  มูลแมลงสาบเขากวางหางนกยูงเผาหวายตะค้าพริกไทยหัวกระเทียมเข้าไหม้ ๑ รวมยา ๗ สิ่งนี้เอาเสมอภาค  ทำผงก็ได้  ทำแท่งก็ได้แก้ลิ้นกุมาร
๒.ดีนกยูง  มีพิษมาก  และมีที่ใช้ร่วมกับดีสัตว์อื่นๆ  สำหรับแทรกเป็นกระยาดังเช่นใน “ยาแสนประสานทอง”  ดังนี้ ยาชื่อแสนประสานทอง  ขนานนี้ท่านก็เอา  ชะมดชะมดเชียง ๑ เอาสิ่งละเฟื้อง พิมเสน ๑ สลึง ๒ สลึง กรุงเขมา ๑ อำพัน ๑ ดอนบุนนาคน้ำประสานทองลิ้นทะเลปิ้งไฟ ๑ เอาสิ่งละ ๒ สลึง ตรีกฏุกโกฐทั้ง ๙ ผลจันทน์ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ จันทน์ทั้งสอง ๑ กฤษณา ๑ กระลำพัก ๑ ชะลูดขอนดอกเปราะหอม ๑ ผลราชดัด ๑ ผลสารพัดพิษพญารากขาวปลาไหลเผือกตุมกาทั้ง ๒ คุคะมหาสดำมหาละลายระย่อมรากไคร้เครือว่านกีบแรด ๑ อบเชยเทศ ๑ เอาสิ่งละ ๑ บาท ทองคำเปลว ๒๐ แผน  รวมยา ๖๑ สิ่งนี้  กระทำให้เป็นจุน  แล้วเอางูเหลือมดีจระเข้ดีตะพาบน้ำดีหมูเถื่อนดีปลาซ่อนดีนกยูง ดีทั้ง ๖ นี้แซก  เอาน้ำเป็นกระสาย  บดปั้นแท่งไว้แก้พิษทรางแลแก้ไข้สันนิบาต  ละลายน้ำดอกไม้กิน  ถ้าจะแก้พิษฝีดาษ  พิษฝีดวงเดียว  พิษงูร้าย  ละลายสุรากินหาย  ทุกสิ่งประสิทธิ์ดีนัก

  

รูปภาพจาก:wildlifefund.or.th,pixabay.com