จงโคร่ง

จงโคร่ง

จงโคร่งเป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก มี ๔ เท้า มีกระดูกสันหลัง

จัดอยู่ในวงศ์ Bufonidae สกุลเดียวกับคางคก
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bufo asper
บางถิ่นเรียก จงโคร่ง กระทาหอง กระหอง หรือ กง ก็มี

 

ชีววิทยาของจงโคร่ง

จงโคร่งมีลักษณะทั่วไปคล้ายกับคางคกบ้าน แต่ตัวโตกว่ามาก เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ที่มีตัวโตที่สุดในประเทศไทย มีลักษณะที่แตกต่างจากคางคกบ้าน หลายอย่าง ที่สำคัญคือ ความกว้างของแก้วหู สั้นกว่าครึ่งหนึ่งของความกว้างของตา และอยู่ห่างจากตามาก สันกระดูกเหนือแก้วหูหนานมาก กระดูกหน้าผาก ระหว่างตากับหู ทั้งสองข้าง บุ๋ม ตรงกลาง กระดูกสันหลังมีร่องลึกตรงกลาง ผิวหนังใต้คอใต้ท้องมีสีชมพู ส่วนบนค่อนข้างดำ มีสีแดงเป็นหย่อมๆ มากน้อยต่างกันไปแต่ละตัว มีปุ่มนูนๆ อยู่ทั่วไป ตามส่วนบนของตัว ใต้ฝ่าเท้ามีปุ่มตามข้อนิ้วมาก ใต้ข้อเท้ามีปุ่มใหญ่อยู่ ต้ายข้อเท้ามีปุ่มใหญ่อยู่สองปุ่ม ๒ ปุ่มได้ข้อนิ้วมีตุ่มไม่ใหญ่นัก นิ้วเท้ามีพังผืด ซึ่งระหว่างนิ้วทุกนิ้ว ตัวโตเต็มวัยที่วัดจากปากถึงก้นราว ๒๖เซนติเมตร จงโคร่งมักอาศัยอยู่ตามซอกหินของภูเขา ที่มีป่าไม้ร่มเย็นชุ่มชื้น บางตัวเข้าไป อาศัยอยู่ในบ้านคน เพื่อคอยกินแมลงที่มาเล่นแสงไฟ พบได้ตั้งแต่ทางภาคใต้ของประเทศไทย ลงไปจนถึงนานเลเซียและเกาะ สุมาตราของอินโดนีเซีย

 

สัตวศาสตร์ชาติพันธุ์ของจงโคร่ง

ชาวบ้านทางปักษ์ใต้ โดยเฉพาะอำเภอเบตงจังหวัดยะลา มักถือกันว่าบ้านใดมีจงโคร่งอาศัยอยู่ด้วย บ้านนั้นจะอยู่เย็นเป็นสุข หากผู้ใดทำร้ายจงโคร่ง ผู้นั้นหรือญาติพี่น้อง ก็จะประสบเคราะห์ร้าย ดังนั้นเจ้าของบ้านจึงมักปล่อยให้จงโคร่ง อาศัยอยู่ในบ้าน เสมือนเป็นสัตว์เลี้ยงชนิดหนึ่ง ปล่อยให้หากินแมลงที่มาเล่นแสงไฟในบ้าน ไม่มีใครกล้ารบกวน รังแก หรือทำร้าย หนังจงโคร่งมีต่อมยางที่เป็นพิษเหมือนหนังคางคก โจรผู้ร้ายเคยใช้หนังจงโคร่งแห้ง ผสมกับเห็ดเมาบางชนิด ใบและยางของสมุนไพรบางอย่าง ทำเป็นชุดไฟสำหรับรม เจ้าของบ้านได้สูดดมยานี้ก็จะมึนเมา หลับ หรือหมดสติไป โจรผู้ร้ายก็จะเข้าไป ลักขโมยหรือปล้นได้ดั่งตั้งใจ วิธีการแก้พิษนั้นให้กินน้ำมะพร้าวอ่อน แล้วล้างหน้าด้วยน้ำมะพร้าวอ่อน ก็จะฝืนได้เป็นปรกติ แพทย์แผนไทยใช้หนังจงโคร่งแห้งผสมยาเบื่อเมา ทำให้นอนหลับใช้บำบัดโรคคุดทะราด

 

สัตวศาสตร์ชาติพันธุ์คืออะไร

คำ “สัตวศาสตร์ชาติพันธุ์” นี้ แปลจากคำในภาษาอังกฤษว่า ethnozoologyเป็นศาสตร์ที่ศึกษาความสัมพันธ์ โดยตรงในแง่มุมต่างๆ ระหว่างกันและกัน ของพรรณ สัตว์ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ กับมนุษย์ชาติพันธุ์ต่างๆ เช่นความเชื่อเรื่องสัตว์กับโชคลาง การใช้พรรณสัตว์เป็นอาหาร เป็นยาบำบัดโรค

 

ชั้นสัตว์เลื้อยหรือคลาน

ชั้นสัตว์เลื้อยหรือคลาน(class Reptlia) สัตว์ในกลุ่มนี้มักถูกเรียกเป็น สัตว์เลื้อยคลาน ซึ่งไม่น่าจะถูกต้องตามความเป็นจริง เพราะสัตว์เหล่านี้บางชนิดคลานไม่ได้ เช่นงูต่างๆ บางชนิดเคลื่อนที่โดยการเลือกคลานเท่านั้น ไม่เลื้อย เช่น เต่า จระเข้ สัตว์ที่อยู่ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บกอย่างแท้จริง ผิวหนังเป็นเกล็ดน้ำแข็งไม่สามารถใช้หายใจได้ หายใจทางปอด ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง มีหัวใจ ๓ หรือ ๔ ห้องไม่สมบูรณ์คือ หัวใจมีห้องบน ๒ ห้อง ส่วน ๒ ห้องล่างแยกกันไม่สนิท ยกเว้นจระเข้ ส่วนพวกนี้ออกลูกเป็นไข่ก่อน สัตว์เลื้อยหรือคลานที่ใช้ประโยชน์ทางยามีหลายชนิด เช่นงูต่างๆ จระเข้ ตุ๊กแก ตะพาบน้ำ และเต่า

 

รูปภาพจาก:chm-thai.onep.go.th,biogang.net